ธรรมะบำบัด


ใกล้ปีใหม่แล้ว 2556 เหลือเพียงไม่กี่วัน
 วันนี้วันอาทิตย์ มองหาหนังสือดีดีสักเล่ม
เพื่อเขียนเรื่องราวในบล็อก  พบหนังสือของเภสัชกรพงศ์ปกรณ์ พิชิตฉัตรธนา
  เรื่องดูแลสุขภาพ บำบัดโรค ด้วยจิตใต้สำนึก
 เปิดอ่านไปเรื่อยๆ จนบทสุดท้าย ธรรมะบำบัด น่าสนใจ
แต่จริงจริงแล้วหนังสือเล่มนี้น่าสนใจทั้งเล่ม
 เป็นเรื่องการสะกดจิตใต้สำนึก แต่เนื้อหาบทท้าย
 เหมือนเป็นบทสรุปของผู้เขียนว่า ชีวิตต้องบำบัดด้วยธรรมมะ

อันธรรมะเย็นฉ่ำดุจน้ำทิพย์  แค่ได้จิบก็สบายหายเหนื่่อยล้า
เติมพลังเต็มปรี่ในชีวา  เพียงศรัทธาในพระธรรมก็ล้ำเลอ
จงยึดมั่นพระธรรมคำ้จุ้นโลก จะหายโศกชื่นใจได้เสมอ
สู้ปัญหาชนะทุกข์สุขมาเจอ  อย่าพลั้งเผลอลืมธรรมะพระคุ้มครอง

ชีวิตคนเราทุกคนเกิดมาก็ต้องต่อสู้กับปัญหามากมาย ใครโชคดีก็เจอปัญหาเล็กน้อย ใครโชคร้ายก็เจอปัญหาหนักหนาสาหัส พระท่านว่าไว้ ชีวิตคือความทุกข์ ดังนั้นเราทุกคนหนีไม่พ้นที่จะต้องพบความทุกข์ไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง เราจะเอาชนะความทุกข์ได้อย่างไร เราจะก้าวพ้นความทุกข์ได้อย่างไร เป็นคำถามที่หลายๆคนก็ยังหาคำตอบไม่เจอ หรือเจอก็ยังไม่กระจ่าง

ทุกคนมีปัญหาและความทุกข์ทั้งนั้น เช่นปัญหาการงาน การเงิน หนี้สิน ครอบครัว ธุรกิจ ปัญหาส่วนตัวที่บอกใครไม่ได้ สารพัดปัญหาต่างๆ มีผลกระทบทางร่างกายจิตใจกับหลายหลายคน ซึ่งแต่ละคนนั้นมีผลที่แตกต่างกันออกไป เช่นบางคนเครียด หงุดหงิด บ้างก็นอนไม่หลับ หดหู่ ซึมเศร้า หมดหวังสิ้นกำลังใจ บางคนเคยคิดฆ่าตัวตาย บางคนกลายเป็นโรคจิต โรคประสาทก็มี

พระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา สามารถใช้บำบัดทุกข์ แก้ปัญหาต่างๆในชีวิตได้ เพียงแต่คนบางคนมักมองข้าม หรือเบื่อหน่ายที่จะเรียนรู้คำสอนเหล่านี้ หลายคนไม่ชอบพูดคุยเรื่องธรรมมะ ไม่ชอบสวดมนต์ หรือกำหนดจิต หรือทำสมาธิ เหตุผลคือสิ่งนี้น่าเบื่อและเข้าใจยากปฏิบัติยาก จริงๆแล้วถ้าเราใส่ใจและมีความเพียร เรื่องเล่านี้มิใช่ยากเสียทีเดียว

มีบางคนพูดว่า ก่อนนอนสวดชิยบัญชร สวดอิติปิโส สวดพาหุง หลายๆรอบ แต่ก็นอนไม่หลับ จิตใจวุ่นวาย ความคิดฟุ้งซ่าน  บางคนบอกว่าฝึกนั่งสมาธิ หลับตานิ่งๆ นับลมหายใจ แต่จิตไม่สงบเลย  คุณหมอจึงอธิบายว่า เราต้องปฏิบัติด้วยจิตที่ศรัทธา มุ่งมั่น จึงจะได้ผล ไม่ใช่สักแต่สวดมนต์ด้วยปากเป็นนกแก้ว นกขุนทอง แต่จิตใจไม่ได้ส่งลงไปสวด แบบนี้สวดสักร้อยหนพันหนก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา การทำสมาธิถ้าสักแต่นิ่งๆหลับตาโดยที่จิตใจยังไม่นิ่งก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร

เราต้องใส่ความเชื่อ ใส่ศรัทธา 
ใส่ความมุั่่งมั่นลงสู่ธรรมะที่เราจะปฏิบัติเสียก่อน
 เราต้องเชื่อด้วยใจเต็มร้อยว่าธรรมะช่วยเราได้ แน่นอน
ธรรมมะไม่ใช่สิ่งน่าเบื่อ ไม่ใช่สิ่งยากลำบาก
 เมื่อใส่ศรัทธาแน่แน่วแล้ว ต่อไปจิตจะคล้อยตาม
 เริ่มสงบ เริ่มนิ่ง เริ่มพบความกระจ่างใส

ก่อนเข้านอนทุกวัน หลังจากสวดมนต์ทำสมาธิเสร็จ ขอให้แผ่เมตตาให้กับสิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนโลกนี้ และอโหสิกรรมให้คนที่ทำไม่ดีกับเรา การแผ่เมตตา การอโหสิกรรม จะนำความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ตัวเรา ทำให้เราหายทุกข์หายโศก และให้หมั่นฝึกสมาธิวิปัสสนาซึ่งเป็นการสะสมบุญบารมีที่ยิ่งใหญ่มาก ถ้าทำสม่ำเสมอจะช่วยแก้ไขวิบากกรรมได้ หมั่นฝึกจิตให้สงบนิ่ง โดยมีหลักง่ายๆ 4 ขั้นตอนดังนี้

  1. ให้ความรู้สึกติดตามลมหายใจทั้งเข้าและออก
  2. ให้ความรู้สึกติดตามอริยาบทของร่างกาย
  3. ให้รู้ว่าจิตใจกำลังทุกข์หรือสุข
  4. ให้รับรู้ถึงสิ่งที่มากระทบจิตใจแล้วปล่อยวางเสีย
หากมีความทุกข์หรือมีปัญหาต่างๆในชีวิต ทางแก้ไขอีกทางหนึ่งที่จะสามารถทำได้คือ การทำบุญสะเดาะเคราะห์ ซึ่งมีวิธีที่แตกต่างและทำได้อย่างง่ายดายดังนี้


  • ชะตาชีวิตตกต่ำ ให้ไปไหว้พระแล้วทำบุญเติมน้ำมันตะเกียงหรือถวายหลอดไฟฟ้า โคมไฟแก่พระภิกษุสงฆ์ 
  • เจ็บไข้ได้ป่วย ให้ถวายยาแก่พระภิกษุ หรือบริจาคเงินที่โรงพยาบาลสงฆ์ ลดละเลิกการกินเนื้อสัตว์
  • กิจการค้าไม่ดี บูชาพระสังกัจจายน์ ด้วยผลไม้ 7 อย่าง หรือไปกราบไหว้พระพรหม หรือกราบบูชาพระพุทธเจ้าหลวง
  • ความขัดแย้งและปัญหาในครอบครัว กราบไหว้พระภูมิเจ้าที่ เจ้าทางผีบ้านผีเรือน เลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า ถวายสังฆทาน
  • การงานมีอุปสรรค ทำบุญปล่อยปลาไหล บูชาพระพรหม เติมน้ำมันตะเกียงที่วัด
  • เกิดอุบัติเหตุบ่อย ถวายพวงมาลัยให้แม่ย่านางประจำรถ อัญเชิญพระพุทธรูปองค์เล็กมาบูชาไว้ในรถ
  • ชีวิตผิดหวัง ทำบุญปล่อยหอยขม ถวายโต๊ะหมู่บูชาแก่วัดใกล้บ้าน
  • เป็นทุกข์เพราะลูกหลาน ไปทำบุญที่บ้านพักคนชรา ปฏิบัติต่ิอพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ด้วยความรัก ให้ท่านทั้งหลายมีความสุข ไปทำบุญกับเด็กอนาถา
  • มีศัตรูคิดร้าย ไปบูชาพระศิวะ พระนารยณ์
  • การเงินติดขัด ไปบริจาคทานแก่ผู้ยากไร้
  • ครอบครัวร้าวฉาน ให้ทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่ญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับ
ชาวพุทธย่อมรู้จักดีเกี่ยวกับการรักษาศีล 5  แต่ไม่ค่อยมีใครใส่ใจปฏิบัติอย่างจริงจังทั้ง 5 ข้อ การรักษาศีลคือการทำความดี จะส่งผลดีกับชีวิตเราดังนี้
  1. ผู้ที่ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จะมีอายุยืนยาว สุขภาพแข็งแรง
  2. ผู้ที่ไม่ลักทรัพทย์ จะมีเงินทองทรัพย์สมบัติ
  3. ผู้ที่ไม่ผิดลูกเมียเขา จะมีครอบครัวที่อบอุ่นเป็นสุข
  4. ผู่ที่ไม่พูดปด จะมีคนเชื่อถือในคำพูด มีแต่คนนับถือและต้อนรับ
  5. ผู้ที่ไม่ดื่มสุรา จะมีสติปัญญาดี ชีวิตจะรุ่งเรือง
นอกจากธรรมมะจะช่วยให้จิตใจของเรามีความสงบแล้ว การได้ฟังหรือได้แง่คิดบางประการนั้น จะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างมีสติมากขึ้น 

เภสัชกรพงศ์ปกรณ์ พิชิตฉัตรธนา กล่าวว่า 
พวกเราในฐานะพุทธศาสนนิกชน
 เราเชื่อเรื่องกฏแห่งกรรมอยู่แล้ว ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
 เรารู้ดีว่าชีวิตเกิดจากกรรม เป็นไปตามกรรมและสิ้นสุดด้วยกรรม
 คนบางคนปล่อยชีวิตตามยถากรรม ด้วยข้ออ้างที่ว่าชีวิตเป็นไปตามกรรม 
แก้ไขอะไรไม่ได้ ก็ให้มันเป็นไปตามนั้น
 ไม่เห็นจะต้องไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรนี่
 เป็นความคิดที่ผิด เพราะกรรมนั้นมีทั้งกรรมใหม่และกรรมเก่า
 กรรมเก่าเราแก้ไขไม่ได้ แต่กรรมใหม่เรากำหนดได้
 นั้นคือหมั่นทำความดี ให้มากๆ
มันจะช่วยผ่อนปรนผลของกรรมเก่าให้บรรเทาลง 
ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นแน่นอน และอยากให้ท่านฝึกสื่อสารกับจิตใต้สำนึก
 ให้จิตใต้สำนึกช่วยนำพาตัวเราให้ผ่านพ้นปัญหาต่างๆ

วิธีการคือหลับตาลงด้วยความผ่อนคลาบ 
ปล่อยวางเรื่องต่างๆ ออกไปจากความคิด 
พูดกับตัวเองในใจว่าตอนนี้อยากได้อะไร 
เช่นขอให้ปัญหาหนี้สินผ่อนคลายลง
ขอให้สุขภาพดีขึ้น ขอให้การงานราบรื่น ขอให้มีความสุข เป็นต้น
หลังจากนั้นกำหนดจิตสงบนิ่งที่กลางกระหม่อม
จิตใต้สำนึกจะรับรู้สิ่งที่เราต้องการ
และช่วยกระตุ้นสมองกับร่างกายให้ทำหน้าที่ต่อไป 
จนเราได้สิ่งที่บอกกับจิตใต้สำนึก


ขอขอบพระคุณเภสัชกรพงศ์ปกรณ์ พิชิตฉัตรธนา
ผู้เรียบเรียง หนังสือ "ดูแลสุขภาพ บำบัดโรค ด้วยสมาธิและจิตใต้สำนึก"


โรคอหังการเป็นพิษ


อหังการคือความทะนงตนอวดกล้าบ้าบิ่น ไม่เกรงกลัวใดๆ
ลักษณะอาการ
หลงตนจัดจนทะลักออกมาเป็นละเมอสดๆ (ละเมอโดยตั้งใจ)
ชอบทำอะไรเสี่ยงๆ อย่างไม่เกรงกลัวใคร
พร้อมปะ ฉะ ดะ ทุกคนที่ขวาง ใครเข้ามาใกล้จะกลายเป็นเหยื่่อให้ตัวตนจอมอหังการดูหมิ่นขบเคี้ยวเล่น
ชีวิตมีโอกาสตายโหงสูงมาก หากรอดมาก็มักพิการ
เหตุและสมุฏฐาน
เกิดจากจิตใจ โลกสัมพันธ์ งานความสัมพันธ์ และกรรมไม่ลงตัว
เทคนิคการใช้ประโยชน์

  1. เอาไว้ข่มขวัญศัตรูยามคับขัน
  2. เอาไว้ทำในสิ่งที่คนอื่นไม่กล้าทำ แต่จำเป็นต้องทำ เช่นอวดกล้า เมื่อยามผีหลอกและทุกคนตกในความกลัวหมด แต่ต้องพิจารณาให้ดี หากใช้ในสถานการณ์ไม่เหมาะจักเป็นโทษมากกว่าคุณ


วิธีการบำบัด

  1. พิจารณาธรรมสัจจ์เนืองๆว่า ตัวตนนี้แหละคือตัวเหี้ยในตัวมนุษย์ เป็นลูกของเจ้าพ่ออวิชชากับเจ้าแม่ตัญหา ตัวเหี้ยตัวนี้เองที่เป็นทุกข์ และลากพาใจที่เลี้ยงมันไว้ให้ไปทุกข์ด้วยตลอดมาตลอดไป จนกว่าใจดวงใดจะประหารเหี้ยได้จึงหลุดพ้น  ใครมีอหังการมากแสดงว่าเหี้ยของคนนั้นตัวโตมาก
    ใครอวดตนมาก แสดงว่าคนนั้นมีอวิชชามากดังนั้น แม้โง่อยู่ก็อย่าอวดไง่ให้งั่งเลย จะน่าสมเพช
  2.  อยู่คนเดียวไว้ก่อน หากยังปราบเหี้ยตัวนี้ไม่ได้ ขืนออกไปสู่โลกภายนอกอาจตายโหงได้ หากสามารอยู่ในป่าลึกได้จะดี  จะเห็นธรรมชาติชัดกว่าทุกคน เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติเหมือนกันหมด ไม่มีใครสูงไม่มีใครต่ำ
  3. นอนดูดาวกลางคืน พิจารณาจักรวาลอันเวิ้งว้างไร้ขอบเขต ชีวิตมนุษย์แต่ละคนนั้นเล็กน้อยยิ่งนัก เป็นเพียงฝุ่นจักรวาล เท่านั้น ไม่มีใครยิ่งใหญ่หรอก ที่คิดว่ายิ่งใหญ่นั้นล้วนหลอกตัวเอง และหลอกกันและกันเท่านั้น
  4. สวดสัจจ์มนต์เตือนสติตนเนืองๆว่า "สังขิตเตนะ ปัญจุปาทา นักขันธาทุกขา ว่าโดยย่อ การยึดถือในร่างกาย ความรู้สึก ความทรงจำ ความคิด และการรับรู้ เป็นทุกข์ และไม่เป็นตน ผู้ละยึดถือทั้งปวงเสียได้ ย่อมประเสริฐสูงส่ง" เจ้าความรู้สึกอหังการที่ปรากฎอยู่นี้เป็นเพียงของหลอกเดี๋ยวมาเดี๋ยวก็หายไป
  5. หากอหังการขึ้นอย่าไหลตามหรือทำตามมันเด็ดขาด หากมันอยากพูดให้ปิดปากเลย
  6. เพ่งตัวตนด้วยญาญโดยความเป็นก้อนทุกข์ และบีบมันด้วยสมาธิญาณลึกให้สุดให้ตัวตนแตกไปเลย แล้วจะสลายยิ่ง
ระบบป้องกัน
ให้สวดอนัตตาญาณเนืองๆดังนี้ "ความสำคัญจริงแท้ของใครๆ คือไม่มีใครเป็นอะไรแท้จริง" ตัวโง่(อวิชชา) เท่านั้นที่คิดว่าตนเป็นนั้นเป็นนี่ หรือคนอื่นเป็นนั้นเป็นนี้กันอยู่

วันนี้อ่านหนังสือ พุทธวิธี การบำบัดความผิดปกติของชีวิต ของอัคร ศุภเศรษฐี


มิตรภาพ สัมพันธภาพ กับความเมตตา


มิตรที่ดีคือสิ่งประเสริฐ หากไร้กัลยาณมิตร ชีวิตคงจืดสนิท
 แต่การจะมีเพื่อนดีดีสักคนก็ใช่ว่าจะหาง่าย
การมีเพื่อนสักคนช่างเป็นประสพการณ์ยอดเยี่ยมในชีวิต
 พอพอกับการค่อยๆ เข้าใจตัวเองและโลกรอบๆตัวเพิ่มขึ้นนั่นแหละ 
สัมพันธภาพของผู้คนทั่วไปมักจะเอาแน่นอนไม่ได้ 
ส่วนใหญ่เป็นเพียงเกม 
 คิดว่าเราพอจะหาสัมพันธภาพที่ซื่อตรง 
เปิดเผย จริงใจได้บ้างไหม
 สัมพันธภาพแบบมิตรแท้ที่ไม่คิดควบคุม
หรือฉกฉวยประโยชน์อีกฝ่ายหนึ่ง 
แต่เปี่ยมด้วยความเชื่อใจและนับถือกัน
โดยไม่คาดหวังจากอีกฝ่ายหนึ่งจนเกินเลยจากความเป็นจริง
คนเราจำเป็นต้องมีสัมพันธภาพที่ดีเพื่อพัฒนาจิตใจ 
สัมพันธภาพที่ดีช่วยให้เราเรียนรู้และเติบโตขึ้น 
มิฉะนั้นเราจะกลายเป็นหุ่นยนต์
 ยิ่งไปกว่านั้น สัมพันธภาพเลวๆ 
อาจทำให้เราเป็นสัตว์ร้ายหรืออะไรที่เลวร้ายกว่านั้นได้
 คนเรามีความเป็นมนุษย์น้อยลงทุกที 
เพราะขาดสัมพันธภาพที่ดีต่อกันและกัน
 สัมพันธภาพที่ประกอบด้วยความจริงใจ
 ด้วยหัวใจที่เปิดกว้าง เข้าอกเข้าใจ
 ห่วงใย เมตตา และอดทน ก็ย่อมเป็นไปด้วยดี
 สาเหตุที่ความสัมพันธส่วนใหญ่ล้มเหลว
 ก็เพราะไม่มีการเปิดใจต่อกันและกันอย่างแท้จริง
 ไม่มีความรู้สึกห่วงใย ยอมรับและให้เกียรติกันและกัน
 ไม่มีความเ้ข้าใจว่าเราทุกคนต่างเป็นมนุษย์
 (ที่ล้วนมีข้อบกพร่องและข้อจำกัดตามแบบฉบับของแต่ละคน)
และอีกหนึ่งของความล้มเหลวก็คือ
การคาดหวังในผู้อื่นมากเกินไป 
นำมาซึ่งการผลักใส(ไม่ยอมรับ) เพราะคิดว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่คาดคิดว่าควรจะเป็น
เราจึงต้องมีเพื่อนดีดีๆสักคน หลายคนได้ยิ่งดี 
ไม่ว่าใครก็ไม่สมควรอยู่ในที่ไร้มิตรสหาย 
สัมพันธภาพต้องมีความเมตตา
ซึ่งช่วยให้อดทนอดกลั้น ยอมรับและเข้าใจกัน
การมองเห็นและยอมรับข้อบกพร่องของตนเองได้
คือหัวใจของความสุขและความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม
ถ้ายอมรับข้อบกพร่องของตนเองไม่ได้
แล้วจะยอมรับความบกพร่องของผู้อื่นได้อย่างไร

ขอบคุณหนังสือดีดี  หิมะกลางฤดูร้อน
พระโชติกะ:เขียน มณฑาทิพย์ คุณวัฒนาแปล

การรู้ใจคนอื่น


หากเราเข้าอัปปนาสมาธิได้
 บางคนทำบ่อยๆ เขาเรียกว่า ญานสมาบัติ 
คือไม่รับสิ่งกระทบใดๆ จิตที่เข้าอัปปนาสมาธิได้ 
จะเป็นจิตที่ละเอียดอ่อน หลักธรรมเรียกว่า เป็นจิตที่อ่อนสลวย
 ซึ่งสามารถรู้ความคิดเห็นคนอื่นได้ เจโตปริยญาณจะเกิดขึ้น
 ไปรู้ภพภูมิกำเนิดแต่หนหลังได้ เรียกว่า ปุเพนิวาสสานุสสติญาณ
 ไปรู้กฎแห่งกรรม ซึ่งเป็นกฎของเหตุและผลตามหลักวิทยาศาสตร์ 
เมื่อเหตุผลสัมพันธ์กัน และระบบประสาทของเราสามารถวิเคราะห์ได้ 
เช่น เมื่อเราทำงานวิจััยจะเป็นปริญญาตรี โท เอก ก็ตาม
 จุดมุ่งหมายของงานวิจัยคือ หาเหตุผลให้เชื่อมโยงกันให้ได้ แค่นั้นเอง
 ก็จะนำไปสู่ความจริงความจริงจะปรากฎขึ้น
 เช่นเดียวกัน ในสิ่งที่ระบบประสาทเข้าไม่ถึง 
คือสิ่งที่ใช้จิตสัมผัส ก็มีเหตุกับผลยืนยันกัน
 ดังนั้นกฎแห่งกรรมนั้นมีจริง 
แต่ลึกซึ้งเกินกว่าระบบประสาทเราจะเข้าไปรับรู้ได้ 
เราจะรู้ได้เพราะจิตละเอียดถึงขั้นนั้น และอภิญญา (ญาณโลกีย์)เกิดขึ้น ทุกคนมีสิทธิ์ทำได้

หมายเหตุ
                        แต่สิ่งที่ได้ผู้เขียน ได้รับในวันนี้ คือกุญแจที่ไขปัญหาให้กับผู้เขียน เนื่องจากผู้เขียนทำงานวิจัย และกำลังเขียนงานวิจัย แต่ประสพปัญหาคือ เมื่ออาจารย์ ที่ปรึกษาตรวจงาน ท่านเปลี่ยนรูปแบบงานวิจัยจากเดิม ไปเป็นอีกแบบซึ่งผู้เขียนหาเหตุผลไม่ได้ ว่าทำไมจึงเปลี่ยนรูปแบบงานวิจัยนี้  เมื่อตอบเหตุผลให้ตนเองไม่ได้ ว่าทำไมจึงเปลี่ยนรูปแบบ ทำให้ เขียนงานวิจัยไม่ออกมาหลายวัน
วันนี้ผู้เขียนตั้งใจเขียนบล็อก Dhamma for life เหมือนเดิม ด้วยเหตุผลการให้ธรรมมะเป็นทาน การอ่านและการเขียนคือกำไรชีวิตของเรา พบงานน่าสนใจของ งานเขียนของดร.สนอง วรอุไร ในหนังสือทางสายเอก  ในเรื่อง การรู้ใจผู้อื่น แต่พบ Key word ที่เตือนสติผู้เขียนได้ดีคือ "จุดมุ่งหมายของงานวิจัยคือ หาเหตุผลให้เชื่อมโยงกันให้ได้ " มหัศจรรย์ใจ ธรรมะจัดสรรจริงจริง

ขอขอบพระคุณ งานเขียน ดร.สนอง วรอุไร "ทางสายเอก"
                        

อธิษฐานบารมีที่มีศีลและสัจจะกำกับ


กายกับจิตตรงกันเมื่อใด
กายนั้นศักดิ์สิทธฺ์ จิตนั้นศักดิ์สิทธิ์
เมื่อใดกายศักดื์สิทธิ์ จิตศักดิ์สิทธฺิิิิิิิ
เมื่อนั้นวาจาศักดิ์สิทธฺิ์ิิ์ืิิิ

แรงอธิษฐานสามารถนำไปใช้ให้เกิดผลดีแก่ชิวิต
 ถ้าเราเข้าใจว่าแรงอธิษฐานจะสมดังตั้งจิตปรารถนาได้อย่างไร
 มีองค์ประกอบอะไรบ้าง เมื่อเราทำได้สมบูรณ์ คำอธิษฐานนั้นก็สมปรารถนา

อธิษฐาน เป็นบารมีหนึ่งในทศบารมี ที่ผู้เจริญในธรรมพึงเจริญให้มีอยู่ในใจ

บารมี เป็นคุณธรรมความดีงาม หมายถึง ความเป็นเลิศ หรือคุณสมบัติที่ทำให้เป็นเลิศ คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ หรือความดีที่สั่งสมในจิต หรือเป็นคุณธรรมที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญครบบริบูรณ์ แล้วสามารถตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้

ทศบารมี ได้แ่ก่ ทาน ศึล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ 
ขันติ สัจจะ  อธิษฐาน เมตตา และ อุเบกขา
อธิษฐานคือการตั้งความมุ่งหวังให้สำเร็จผลในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตั้งความปรารถนาไว้
 กำหนดไว้ ต่างกับการบนบาน ซึ่งหมายถึงการขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ช่วยเหลือในสิ่งที่ตนประสงค์ให้สำเร็จสมปรารถนา เมื่อใดสำเร็จสมปรารถนาแล้วให้สิ่งตอบแทนแก่สิ่งศักดิ์สิทธฺิ์นั้น

ในพุทธศาสนา ไม่มีปฏิปทาให้ชาวพุทธบนบานศาลกล่าว  
พุทธศาสนาสอนให้พัฒนาจิตของเราให้ศักดิสิทธิ์
 เมื่อจิตศักดิ์สิทธิ์แล้วจึงอธิษฐานจิตแทนการบนบานเมื่อใดที่เรามีสติระลึกรู้ เมื่อนั้นบารมีสั่งสมในดวงจิตได้ตลอดเวลา เช่นการฟังธรรมจะได้ปัญญาบารมี เราสงบกาย วาจาใจ เป็นศึลบารมี ปลีกตัวเข้าปฏิบัติธรรมเป็นเนกขัมบารมี
จิตมีหน้าที่ 3 อย่างคือ
1. รับสิ่งที่กระทบเข้าปรุงเป็นอารมณ์
2.สั่งสมให้แสดงออกเป็นพฤติกรรม
3. สั่งสมพฤติกรรมที่ทำแล้ว
หากขาดสติระลึกรู้ บารมีทั้ง 30 ก็จะไม่สั่งสมในดวงจิต 

ดังนั้นก่อนนอนควรระลึกทบทวนดูว่า วันนี้เราสั่งสมบารมีใดในดวงจิตบ้าง 
บารมีคือคุณสมบัติที่ยิ่งใหญ่  บารมีคือธรรมที่ทำให้ถึงฝั่ง 
คือเข้านิพพาน เป็นการลงทุนน้อยแต่ได้ผลยิ่งใหญ่

หากผู้ใดหวังคำอธิษฐาน ก็ต้องมีศีล มีสัจจะกำกับ
หากมีศีลคุมใจ จิตจะมีโอกาสเกิดสมาธิ เมื่อจิตมีสมาธิ จะเกิดพลังมหาศาล  
สัจจะ คือความจริง ทั้งกาย วาจาใจ 
กายกับจิตตรงกันเมื่อใด กายนั้นศักดิ์สิทธิ์  จิตนั้นศักดิสิทธิ์ 
เมื่อใดกายศักดิ์สิทธฺิ์์ จิตศักดิ์สิทธิ์ เมื่อนั้นวาจาศักดิ์สิทธิ์ 
ดังนั้นอธิษฐานถ้ามีศีลและสัจจะกำกับ 
จิตจะมีกำลังสมาธิกล้าแข็ง เมื่อทำการอธิษฐานแล้วจะได้สมปรารถนา
พิจารณาดูว่าเราสร้างเหตุตรงหรือยัง ร่างกายเป็นเครื่องมือให้จิตพัฒนา อย่ารอให้แก่จนร่างกายไม่พร้อม ขอให้เราพัฒนาอธิษฐานบารมีกัน ตั้งแต่ในขณะที่เครื่องมือยังพร้อม อย่าได้ประมาท 
จงเอาร่างกายนี้มาพัฒนาจิตให้เกิดบารมี นีีคืออธิษฐานบารมีที่มีศีลและสัจจะกำกับ

ผู้เขียนเองไม่มีโอกาสบำเพ็ญบารมี 
จึงใช้วิธีอธิษฐานบารมีด้วยการอ่านหนังสือธรรมะ ดีดี แล้วคัดลอกเขียน 
บทความที่น่าสนใจ เป็นประโยชน์ลงในบล็อก
 เป็นการอ่านที่ทำให้สมองมีสมาธิ ขณะเดียวกันเป็นการเขียนที่ใช้สมาธิด้วย
 จิตผู้เขียนยึดโยงกับเนื้อหา เนื้อหาเหล่านั้นเชื่อมโยงกับจิต 
จิตสั่งการสมองให้รับรู้ต่อเนื่อง สัมพันธฺ์ตลอดเวลาที่เขียน
 เกิดสติรู้อย่างอัศจรรย์ ในช่วงเสี้ยวเล็กๆของเวลา 
เหมือนการเหลาดินสอให้แหลมคม เช่นใด
 การอ่านหนังสือธรรมะดีดีของครูบาอาจารญ์ก็เปรียบกับการเหลาจิตให้ปัญญาเกิดนั้นเอง

ขอขอบพระคุณ 
หนังสือทางสายเอกของดร.สนอง วรอุไร

รักเธอประเทศไทย


เป็นตัวเป็นตน รวมเป็นคนขึ้นมาได้  จะโตจะตาย ไม่แน่นอน

จะตึงจะตัง ขึงขัง หรือโอนอ่อน   แล้วแต่ทำเพื่อใคร



จะดีจะเลว เธอก็ยืนเคียงข้าง   จะจำไม่จาง ยังซึ้งใจ

จะเป็นจะตาย ดีร้ายสักเพียงใด   ฉันทำได้ เพื่อเธอ

สาบาน ว่าไม่เสียใจ   เสียใคร ไม่เท่าเสียเธอ
จะยอมให้ใคร มาทำร้ายเธอ เป็นไปได้ไง
แม้ตายก็ต้องยอม

จะดีจะเลว เธอก็ยืนเคียงข้าง   จะจำไม่จาง ยังซึ้งใจ
จะเป็นจะตาย ดีร้ายสักเพียงใด   ฉันทำได้เพื่อเธอ

ของใคร ใครก็หวง  หวงเธอ ดังดวงใจ
ขอเธอ ไม่ต้องหวั่นไหว  หลับเถิด หลับให้สบาย

สาบาน ว่าไม่เสียใจ   เสียใคร ไม่เท่าเสียเธอ
จะยอมให้ใคร มาทำร้ายเธอ เป็นไปได้ไง  แม้ตายก็ต้องยอม



สาบาน ว่าไม่เสียใจ   เสียใคร ไม่เท่าเสียเธอ

จะยอมให้ใคร มาทำร้ายเธอ เป็นไปได้ไง  แม้ตายก็ต้องยอม

สาบาน ว่าไม่เสียใจ   เสียใคร ไม่เท่าเสียเธอ

จะยอมให้ใคร มาทำร้ายเธอ เป็นไปได้ไง


วันนี้ ธรรมะในใจคือรักเธอประเทศไทย 

เพลงสอนชีวิต อย่าหยุดยั้ง





อย่าไปแคร์ถึงเรื่องราวในครั้งก่อน    อย่ามัวนอนเศร้าโศกศัลย์เมื่อช้ำใจ 
ก็ลองคิดใคร่ครวญมันคุ้มกันหรือเปล่า  ตัดอกตัดใจบ้างเถิดหนาคนดี 

เธอบางคนยังยึดมั่นภายในใจ  ซ่อนเก็บความเจ็บไว้ ใครบ้างไหมเข้าใจเธอ 

มียังมีคนอื่นเข้าใจเธอยังมี อย่าสับสนอย่ากังวลร้องไห้ไปทำไม ทิ้งไว้ในอดีต 


อยู่แห่งไหนหรือเป็นใครเมื่อช้ำโศก ใช่เพียงตัวเราที่อับเฉายับเยิน 


ชีวิตของคนเราต้องพบทางหลายอย่าง มีสุขสมหวังมีปวดร้าวปนเป 

วันเวลาที่แสนเศร้าคงจางไป ไม่นานความสดใสที่เธอหวังคงคืนมา 

โอ้พรอันใดศักดิ์สิทธิ์เพียงไหนจงบันดาล สู่แดนดินแด่ตัวเธอผู้ช้ำตรมในดวงใจ ให้หายความจาบัลย์ 


ต่อแต่นี้หัวใจเธอมีเพียงความสบายใจ เธอเปี่ยมล้นด้วยพลังที่เธอสร้างขึ้นมาใหม่ ด้วยใจ 

และเธอก็เข้าใจสิ่งที่แล้วพลาดพลั้งไป เธอเข้าใจ อย่า อย่าหยุดยั้งก้าวไปยังสิ่งที่หมาย 

ที่เธอใฝ่และฝันให้สมหวังดังใจปอง โอ้เธอ ,........

คำสอนของพระโชติกะ

อย่าแบกความทรงจำในอดีตหรือความกังวลต่ออนาคต


พึงใช้ชีวิตทุกๆขณะอย่างมีสติ ปล่อยอนาคตให้เป็นเรื่องของมัน


ท่านสอนให้เรามีสติ ตามดูจิตของเราอย่างจดจ่อ  จนถึงจุดที่ความคิดหยุดลง 
แต่ละความคิดล้วนกัดกร่อนทำลายจิต "คิด" จึงเป็นเรื่องหนักอึ้ง เป็นความทุกข์ทรมาณ
ความคิดไม่ช่วยให้ใจเราเป็นสุขได้ พึงเฝ้าตามรู้ความคิด
แต่อย่าปรารถนาจะควบคุมมัน เมื่อใดก็ตามที่คุณเข้าไปเห็นความคิดชัดๆมันจะหยุดไปเอง
อย่ากังวลกับอารมณ์หรือความสับสนอลหม่านในจิตใจจนเกินไป 
และอย่าพยายามหาเหตุผลให้มันด้วย ชีวิตเป็นของเรา 
เรามีสิทธิ์เต็มร้อยที่จะทำในสิ่งที่เราเห็นว่าถูกต้องในขณะนั้น
 หากเราตัดสินใจผิดพลาด ก็เรียนรู้จากความผิดพลาดนั้น
หากคุณมองปัญหาโดยปราศจากความต่อต้าน คุณจะชนะมันได้ง่ายดายและรวดเร็วด้วย

เปรียบกับเนื้อเพลงเพลงอย่าหยุดยั้ง ผู้แต่งให้ข้อคิดไว้ในเนื้อเพลงได้ดีมาก     
ตรงกับคำสอนของพระโชติกะ

ขอบคุณสำหรับผู้แต่งเพลงนี้ คุณปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์
ขับร้องโดย The Olarn Project http://www.youtube.com/watch?v=-sQysUN4qgc&feature=related


จิต สติ กับ การเจริญกรรมฐาน


สิ่งสำคัญอยู่ที่การตามรู้ใจตนเอง
 และรับรู้ถึงแรงกระตุ้นที่ก่อให้เรากระทำลงไปด้วย 
คนส่วนใหญ่ไม่เคยรับรู้แรงกระตุ้นทีผลักดันให้ตนพูดหรือกระทำ
 หรือหากรู้สึกถึงแรงผลักดันนั้นได้ก็มักจะเข้าไปประเมินตัดสินมัน
สติ(การระลึกรู้)คือการดำรงจิตอยู่กับปัจจุบันขณะ 
ตามรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ ตามความเป็นจริงโดยไม่มีการปรุงแต่ง
 จิตของตัวเองคือสิ่งสำคัญที่พึงตามรู้
สติเป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งของเรา
 เราจึงพัฒนาสติได้ง่ายๆอย่างเป็นธรรมชาติ
จิต เป็นสิ่งเดียวที่เราเข้าไปประจักษ์แจ้งโดยตรง 
ในที่นี้หมายรวมทั้งความคิด ความรู้สึก ทัศนะคติ 
สิ่งอื่นใดนอกนั้นล้วนเกิดจาการอนุมานเอาทั้งสิ้น
 ในขณะที่เราก้มลงมองมือ เราคิดว่าเรามองเห็นรูปร่างและสีสันของมือ
 ที่จริงแล้วมันต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนทีเดียว 
ลองนึกดูสิว่า คุณจะเห็นรูปร่างกับสีสันได้อย่างไรกัน  อะไรคือรูปร่าง อะไรคือสีสัน

เพื่อนคนหนึ่งรายงานอาตมาว่า 
ในขณะที่นั่งกรรมฐานอยู่ เขารับรู้การได้ยินเสียง
เริ่มแรกเขารู้สึกว่าได้ยินเสียงนั้นดังมาจากไกลๆ 
ต่อมาสติคมชัดขึ้น เขารู้สึกว่าเสียงมันดังอยู่ในหู คือเกิดในหูนี่เอง
ครั้นสติคมชัดขึ้นไปอีก กลับพบว่า เสียงนั้นเกิดขึ้นในจิต 
หากไม่มีจิต เสียงไม่มีทางจะเกิดขึ้นได้เลย

กรรมฐานคือการเข้าไปเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ ตามความเป็นจริง

การเจริญกรรมฐานเป็นการสื่อสารภายในหรือการทำความเข้าใจชีวิต(ปัญหา)ในเชิงลึก

ขอขอบคุณงานเขียน ท่านอาจารย์โชติกะ

ผลจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน


พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม ตั้งใจจะพัฒนาจิตใจให้แก่มวลมนุษย์ให้สูงยิ่งขึ้น ด้วยการสอนวิปัสสนากรรมฐานแนว"สติปัฎฐาน ๔" และการไหว้พระให้เป็นธรรมในชีวิต เป็นข้อคิดประจำชีวิต สร้างความดีให้แก่ตนเอง ผลกำไรเป็นความดีเพื่อมอบแก่เพื่อนร่วมชาติร่วมโลกได้อยู่ด้วยความโชคดีทุกๆ ท่าน เป็นทางสายเอกเพื่อการพัฒนาทุกข์อันถาวร
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พระเ่ดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ได้กล่าวไว้ว่า
"ใครเจริญวิปัสสนากรรมฐานโดยต่อเนื่อง  สร้างความดีให้ติดต่อกัน สร้างความดีถูกตัวบุคคล ต่อเนื่องกันเสมอต้นเสมอปลายแล้ว คนนั้นจะได้รับผลดีร้อยเปอร์เซนต์ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า"
        
         "กรรมฐานทำให้คนรู้จักปรมัตธรรม ไม่หลงติดอยู่ในบัญญัติธรรม บัญญัติอารมณ์ เพราะอารมณ์ดีสำคัญมาก ทำคนให้มีศีลธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม ทำคนให้รักใคร่กันสนิทสนมกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เราทำกรรมฐานนี้แผ่เมตตาให้ศัตรูกลายเป็นมิตร ทำคนให้เมตตากรุณากัน และยินดีเมื่อคนอื่นเขาได้ดี ทำคนให้เป็นคนให้ดีกว่าคนให้ใจประเสริฐ ทำคนให้ไม่เบียดเบียนกันเว้นจากการเอารัดเอาเปรียบกัน ทำคนให้รู้จักตัวเอง และรู้จักปกครองตนเอง ปกครองครอบครัว และทำให้เราเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ไม่มีมานะทิฐิถือตัว ใครจะตักเตือนว่ากล่าวก็ไม่โกรธ  มีกตัญญูกตเวทิตาธรรม ทำคนให้มีกายวาจาใจบริสุทธฺ์ ทำคนให้ได้รับความสุข
      กรรมฐานทำให้เดินทางถูกต้อง ทำคนให้บรรลุผลนิพพานเป็นประโยชน์ สามารถป้องกันภัยอบายภูมิได้ เป็นปัจจัยให้ได้พบมรรคผลนิพพานในชาติต่อไป ทำให้กิเลสคือ โลภะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง ทำให้มีใจสุขุมเยือกเย็น ทำให้เป็นผู้มีสติรอบคอบ ทำให้ความจำดีขึ้น ทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆหายไป ทำให้ความเชื่อ ความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยดียิ่งขึ้น"


ความเงียบ ของ OHSO



ท่านมิอาจครอบครองมันได้ แต่ถึงอย่างไรท่านก็ไม่ได้สูญเสียมันไป

มันอยู่ตรงนั้น อยู่ที่นั้นเสมอมา. 
ขอเพียงแค่ท่านเงียบ ท่านก็รู้ส็กถึงมันได้ ท่านต้องอยู่ในท่วงทำนองเดียวกับมัน.

 ท่านต้องเงียบ ท่านจึงจะได้ยินมัน
 ท่านต้องเงียบแล้วเสียงเริงระบำของพระเจ้าจะเข้าไปในตัวท่าน
 พระเจ้าจะสั่นไหวอยู่ในตัวท่าน พระเจ้าจะเป็นการเต้นของชีพจรท่าน

ท่านต้องละความเร่งรีบ ละความร้อนรน
ละความคิดต่างๆออกไปให้หมด 
ละความอยากที่จะไปให้ถึงที่นั้นที่นี่ ละความอยากที่จะเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ให้หมด
 ท่านต้องละความอยากจะเป็นต่างๆนานาออกไป

 และมันจะมาอยู่ตรงนั้น ท่านจะไม่มีวันสูญเสียมันไป.


OHSO เป็นนักปรัชญาสมัยใหม่ แนวความคิดใกล้เคียงพุทธะ  เป็นหนังสือเชิงจิตวิทยา งานเขียนของ OHSO น่าสนใจ น่าติดตาม ในเมืองไทย ผู้แปลที่คือดร.ประพนธ์ พาสุขยึด


Mo Chao การสะท้อนที่แสนสงบ


 การสะท้อนที่แสนสงบ
ความเงียบสงบลบเลือนถ้อยคำทั้งหลาย
ที่ปรากฏข้างหน้ามีแต่ความกระจ่างแจ้ง
เมื่อเข้าใจทุกอย่างกว้างไร้ขอบเขต
เมื่อเข้าถึงแก่นแท้มีแต่ความสว่างแจ้งในใจ
แฝงไปด้วยความรู้สึกประหลาดใจ
ไม่ว่าจะเป็นหยาดน้ำำ้ค้างกับพระจันทร์
ดวงดาวกับสายธาร
ปุยหิมะบนต้นสน
และหมู่เมฆที่ครุมยอดเขา
จากมืดกลายเป็นสว่างไสว
จากคลุมเคลือกลายเป็นสุกสกาว
ความประหลาดใจอันไร้ขอบเขตได้แทรกเข้ามาในความสงบนี้
ไม่มีความพยายามใดๆหลงเหลืออยู่อีกต่อไป
ความสุขสงบคือ หัวใจของทุกคำสอน
ความจริงแท้ คือ การสะท้อนที่แสนสงบ
มันบริบูรณ์และครบถ้วน
ดูนั้นสิ สายน้ำหลายร้อยสาย
กำลังแข่งกันไหล
เพื่อจะไปให้ถึงมหาสมุทรอันกว้างใหญ่
หากใจเราสงบ เราจะเข้าถึงแก่นแท้ของความสงบ 
 หาความรู้สึกแบบนี้ให้เจอให้ได้ ครั้งหนึ่งในชีวิตก็ยังดี
ขอบคุณรูปภาพจาก

นิพพานระหว่างวันตามธรรมชาติ


ท่านวชิรเมธี เป็นพระนักเขียน นักปรัชญา 
พบงานชิ้นนี้น่าสนใจ การนิพพานระหว่างวัน เป็นอย่างไร
เมื่ออ่านจบ จึงพบว่าตนเองได้นิิพพานไปช่วงหนึ่งแล้ว
 จิตผู้อ่านเชื่อมต่อเนื้อหาของหนังสือ ดื่มด่ำในรดชาดของธรรมมะ
ที่ท่านอาจาร์ยท่านเขียน ทุกอย่างสดชื่น 
ชีวิตแข็งแรง จิตใจแข็งแรง ไม่หวั่นไหวต่อความกังวล 
หรือทุกข์ใดใดที่รอคอยอยู่ข้างหน้า  จากนั้นเริ่มเข้าสู่สมาธิ 
โดยมิได้ภาวนา แต่ใช้การรับรู้ธรรมมะของอาจาร์ยอีกครั้งด้วย 
การพิมพ์ลงบล็อก Dhamma life อีกครั้ง 
ด้วยประโยคที่ชอบและคิดว่าผู้อ่านท่านอื่นคงประทับใจ 
มีความสุข และสามารถอ่านแล้วนิพพานได้ชั่วขณะหนึ่ง
 ถือว่าเป็นเนื้อนาบุญของผู้จัดทำการเผยแพร่ธรรมมะ

การให้ซึ่งธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง



สพพทานํ ธมมทานํ ชินาติ
การให้ซึ่งธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง


เป็นคติธรรมของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พระนิโรธรังสี  คัมภีรปัญญาจารย์)

วันหนึ่ง ผู้เขียนคิดจะสร้างบล็อกอะไรสักอย่าง 
ความคิดมาสะดุดตรงเรื่องราวธรรมมะทีี่ชอบอ่าน
 จึงคิดจัดทำบล็อกไว้เผยแพร่สิ่งดีดี ให้ผู้อื่นได้มีโอกาสอ่าน
  ขณะเดียวกันได้เผยแพร่คำสอนดีดีของท่านอาจาร์ยหลายๆท่าน 

เขียนเก็บไว้หลายเรื่องเพื่อเตรียมโพสทุกวัน
 ก็หันไปเจอหนังสือของหลวงปู่เทสก์ ด้านหลังเขียนคติธรรมไว้ว่า
  สพพทานํ ธมมทานํ ชินาติ  การให้ซึ่งธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง

จึงเริ่มรู้ตนเองว่า ครูบาอาจาร์ยท่านบอกกล่าวให้ศึกษาธรรม
 หากจะทำบล็อกธรรมมะ ไม่ได้อ่านทุกตัวอักษร 
คงทำความเข้าใจไม่ได้  อ่านแล้วยังต้องตัดตอน 
อธิบายตอนที่น่าสนใจ  คัดเลือกลงมาไว้ใน บล็อก

จากนี้เริ่มรู้สึกได้ถึง คำว่าแบ่งปัน
การแบ่งปัน การให้ไม่จำเป็นต้องเป็นเงินทอง
 เป็นความคิดดีดี เป็นความรู้สึกดีงาม
 เหมือนการโยนความรู้ด้านธรรมะ และสิ่งดีดีสวยงามสู่จักรวาลของโลก
 ไม่ต้องรอคอยว่าใครจะอ่าน แต่ความรู้ธรรมมะ 
ผ่านจิตใจของเรา ผ่านสมองและผ่านไปตามรอยนิ้วมือที่จิ้มปุ๋มคอมพิวเตอร์
 ก็ทำให้ชีวิตมีคุณค่ามีความสุข
 ส่วนธรรมมะก็ยังคงคุณค่าด้วยตัวของธรรมะเอง


หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ. พระพรหมปัญโญ




หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ.  พระพรหมปัญโญ


หลวงปู่มุ่งสอนให้ลูกศิษย์เป็นนักปฏิบัติ


 คือหมั่นปฏิบัติสมาธิภาวนาด้วยความไม่ประมาท 

ทั้งนี้ก็เพื่อจะพัฒนาความสามารถในการมีความสุข 

จากความสุขที่ต้องขึ้นกับวัตถุหรือสิ่งเสพภายนอก มาเป็นสุขภายใน

 ซึ่งเป็นสุขชนิดที่ไม่ขึ้นกับวัตถุหรือสิ่งเสพภายนอก

คือ สุขจากคุณธรรมความดีงามในจิตใจ

 สุขจากจิตที่สงบเป็นสมาธิ
 และพร้อมที่จะพัฒนาไปสู่ความสุขที่ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น
 นี้นก็คือความสุขจากการหมดสิ่งรบกวนเผารนจิตใจ
คือ ความโกรธ ความโลภ.  ความหลง  
ความสุขที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์อีก.                         
นั้นก็คือ...พระนิพพาน

การบวชจิต - บวชใน



การบวชจิต - บวชใน


หลวงปู่ดู่ พระพรหมปัญโญ



ท่านได้แนะเคล็ดในการบวชจิตว่า.........



ในขณะเรานั่งสมาธิเจริญภาวนานั้นคำกล่าวว่า



พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ให้นึกว่าเรามีพระพุทธเจ้าเป็นพระอุปัชฌาย์ของเรา



ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ให้นึกว่าเรามีพระธรรมเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของเรา



สังคัง สรณัง คัจฉามิ ให้นึกว่าเรามีพระอริยสงค์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ของเรา



แล้วอย่าสนใจขันธ์่่ 5 หรือร่างกายเรานี้

ให้สำรวมจิตให้ดี มีความยินดีในการบวช

ชายก็เป็นพระภิกษุ. หญิงก็เป็นภิกษุณี
อย่างนี้จะมีอานิสงส์สูงมาก
จัดเป็นเนกขัมบารมีขั้นอุกฤษฎ์ทีเดียว


ขอบคุณรูปภาพ

รดชาดแกงส้มของธรรมะ



หลวงปู่ดู่ ท่านเคยเปรียบธรรมะของพระพุทธเจ้าเหมือนแกงส้ม.
  แกงส้มนั้นมี 3 รส คือ เปรี้ยว เค็ม และเผ็ด.  
ซึ่งมีความหมายดังนี้อุปมาศีล. สมาธิ.  ปัญญา


รสเปรี้ยว. หมายถึง ศีล 
ความเปรี้ยวจะกัดกร่อนความสกปรกออกได้ฉันใด
ศีลก็จะขัดเกลาความหยาบออกจากกาย วาจา ใจ ได้ฉันนั้น



รสเค็ม หมายถึง สมาธิ 
ความเค็มสามารถรักษาอาหารต่างๆไม่ให้เน่าเสียได้ฉันใด.
 สมาธิก็สามารถรักษาจิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณความดีได้ฉันนั้น



รสเผ็ด หมายถึง ปัญญา
 ความเผ็ดร้อนโลดแล่นไป เปรียบได้ดั่งปัญญา
ที่สามารถก่อให้เกิดความแจ้งซัด
 ขจัดความไม่รู้เปลี่ยนจากของควำ่เป็นของหงาย จากมืดเป็นสว่าง

อภัยทาน


การแสดงอภัยทาน เป็นการชำระใจ
แม้พูดง่ายแต่ก็ทำยาก หากไม่ฝึกทำเป็นปกติ
เพื่อให้เข้าใจง่ายและอยากทำให้ได้ ขอให้เราพิจารณาเหตุผล
ถึงความต่อเนื่องของผลกรรมที่ข้ามภพข้ามชาติว่า
ให้ผลเผ็ดร้อนเพียงใด และยังเป็นผลที่เราหนีไม่ได้อีกด้วย

เราต้องถามตนเองก่อนว่า
เราต้องการยุติผลิตผลของกรรมกับคนๆนั้นเพียงภพนี้
หรือต้องการจะพบเขา จะเจอเขาอีกต่อไป
เราต้องการจะยุติปัญหาเพียงภพชาตินี้
หรือต้องการลากยาวไปถึงภพชาติข้างหน้า
เรามีสิทธิเสรีในตัวเรา

บางคน รักมาก หลงมาก เพราะเขาดีมาก
ก็ปรารถนาให้พบกันทุกภพทุกชาติ
บางคนก็อธิษฐานไม่ขอร่วมเดินทาง แต่ก็ไม่ยกโทษ
ในที่สุดผลของการไม่ยกโทษ คือไม่ยอมให้อภัย
ก็เหมือนการผูกสิ่งที่เราไม่ชอบไวเที่เอวตนเองตลอดเวลา

การให้อภัย จะทำให้เราสามารถยุติปัญหาต่างๆได้
เหมือนคนล้างแก้วน้ำสะอาด
ทำให้เหมาะสมที่จะรองรับน้ำบริสุทธิ์ที่เทลงไปใหม่
เหมือนการโยนของที่เราไม่ชอบทิ้งเสีย โดยไม่ต้องเสียดาย

การให้อภัย คือการแสดงกำลังใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
อภัยทาน เวลาจะให้ ไม่ต้องไปขอใคร
ไม่เหมือนใครมาขอเงินเรา เราต้องควักกระเป๋าให้
แต่ให้อภัย เราไม่ต้องหาจากไหน และไม่รู้สึกว่าเป็นการสูญเสีย

ขอให้เราภูมิใจ เมื่อมีใครมาขอโทษ เมื่อมีใครให้อภัยเรา
หรือเมื่สำนึกได้ว่า เราได้ทำอะไรผิดพลาดไป ขอโทษกัน

การขอโทษหรือการให้อภัย มิใช่การเสียหน้า หรือการเสียรู้
มิใช่การได้เปรียบเสียเปรียบแต่อย่างใด
หากแต่เป็นการชำระใจให้สะอาด
เหมือนภาชนะสกปรก ก็ชำระล้างให้สะอาดได้

ขอขอบพระคุณ
จากหนังสือ อภัยทาน โดยปิโสภณ