ธรรมะบำบัด


ใกล้ปีใหม่แล้ว 2556 เหลือเพียงไม่กี่วัน
 วันนี้วันอาทิตย์ มองหาหนังสือดีดีสักเล่ม
เพื่อเขียนเรื่องราวในบล็อก  พบหนังสือของเภสัชกรพงศ์ปกรณ์ พิชิตฉัตรธนา
  เรื่องดูแลสุขภาพ บำบัดโรค ด้วยจิตใต้สำนึก
 เปิดอ่านไปเรื่อยๆ จนบทสุดท้าย ธรรมะบำบัด น่าสนใจ
แต่จริงจริงแล้วหนังสือเล่มนี้น่าสนใจทั้งเล่ม
 เป็นเรื่องการสะกดจิตใต้สำนึก แต่เนื้อหาบทท้าย
 เหมือนเป็นบทสรุปของผู้เขียนว่า ชีวิตต้องบำบัดด้วยธรรมมะ

อันธรรมะเย็นฉ่ำดุจน้ำทิพย์  แค่ได้จิบก็สบายหายเหนื่่อยล้า
เติมพลังเต็มปรี่ในชีวา  เพียงศรัทธาในพระธรรมก็ล้ำเลอ
จงยึดมั่นพระธรรมคำ้จุ้นโลก จะหายโศกชื่นใจได้เสมอ
สู้ปัญหาชนะทุกข์สุขมาเจอ  อย่าพลั้งเผลอลืมธรรมะพระคุ้มครอง

ชีวิตคนเราทุกคนเกิดมาก็ต้องต่อสู้กับปัญหามากมาย ใครโชคดีก็เจอปัญหาเล็กน้อย ใครโชคร้ายก็เจอปัญหาหนักหนาสาหัส พระท่านว่าไว้ ชีวิตคือความทุกข์ ดังนั้นเราทุกคนหนีไม่พ้นที่จะต้องพบความทุกข์ไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง เราจะเอาชนะความทุกข์ได้อย่างไร เราจะก้าวพ้นความทุกข์ได้อย่างไร เป็นคำถามที่หลายๆคนก็ยังหาคำตอบไม่เจอ หรือเจอก็ยังไม่กระจ่าง

ทุกคนมีปัญหาและความทุกข์ทั้งนั้น เช่นปัญหาการงาน การเงิน หนี้สิน ครอบครัว ธุรกิจ ปัญหาส่วนตัวที่บอกใครไม่ได้ สารพัดปัญหาต่างๆ มีผลกระทบทางร่างกายจิตใจกับหลายหลายคน ซึ่งแต่ละคนนั้นมีผลที่แตกต่างกันออกไป เช่นบางคนเครียด หงุดหงิด บ้างก็นอนไม่หลับ หดหู่ ซึมเศร้า หมดหวังสิ้นกำลังใจ บางคนเคยคิดฆ่าตัวตาย บางคนกลายเป็นโรคจิต โรคประสาทก็มี

พระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา สามารถใช้บำบัดทุกข์ แก้ปัญหาต่างๆในชีวิตได้ เพียงแต่คนบางคนมักมองข้าม หรือเบื่อหน่ายที่จะเรียนรู้คำสอนเหล่านี้ หลายคนไม่ชอบพูดคุยเรื่องธรรมมะ ไม่ชอบสวดมนต์ หรือกำหนดจิต หรือทำสมาธิ เหตุผลคือสิ่งนี้น่าเบื่อและเข้าใจยากปฏิบัติยาก จริงๆแล้วถ้าเราใส่ใจและมีความเพียร เรื่องเล่านี้มิใช่ยากเสียทีเดียว

มีบางคนพูดว่า ก่อนนอนสวดชิยบัญชร สวดอิติปิโส สวดพาหุง หลายๆรอบ แต่ก็นอนไม่หลับ จิตใจวุ่นวาย ความคิดฟุ้งซ่าน  บางคนบอกว่าฝึกนั่งสมาธิ หลับตานิ่งๆ นับลมหายใจ แต่จิตไม่สงบเลย  คุณหมอจึงอธิบายว่า เราต้องปฏิบัติด้วยจิตที่ศรัทธา มุ่งมั่น จึงจะได้ผล ไม่ใช่สักแต่สวดมนต์ด้วยปากเป็นนกแก้ว นกขุนทอง แต่จิตใจไม่ได้ส่งลงไปสวด แบบนี้สวดสักร้อยหนพันหนก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา การทำสมาธิถ้าสักแต่นิ่งๆหลับตาโดยที่จิตใจยังไม่นิ่งก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร

เราต้องใส่ความเชื่อ ใส่ศรัทธา 
ใส่ความมุั่่งมั่นลงสู่ธรรมะที่เราจะปฏิบัติเสียก่อน
 เราต้องเชื่อด้วยใจเต็มร้อยว่าธรรมะช่วยเราได้ แน่นอน
ธรรมมะไม่ใช่สิ่งน่าเบื่อ ไม่ใช่สิ่งยากลำบาก
 เมื่อใส่ศรัทธาแน่แน่วแล้ว ต่อไปจิตจะคล้อยตาม
 เริ่มสงบ เริ่มนิ่ง เริ่มพบความกระจ่างใส

ก่อนเข้านอนทุกวัน หลังจากสวดมนต์ทำสมาธิเสร็จ ขอให้แผ่เมตตาให้กับสิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนโลกนี้ และอโหสิกรรมให้คนที่ทำไม่ดีกับเรา การแผ่เมตตา การอโหสิกรรม จะนำความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ตัวเรา ทำให้เราหายทุกข์หายโศก และให้หมั่นฝึกสมาธิวิปัสสนาซึ่งเป็นการสะสมบุญบารมีที่ยิ่งใหญ่มาก ถ้าทำสม่ำเสมอจะช่วยแก้ไขวิบากกรรมได้ หมั่นฝึกจิตให้สงบนิ่ง โดยมีหลักง่ายๆ 4 ขั้นตอนดังนี้

  1. ให้ความรู้สึกติดตามลมหายใจทั้งเข้าและออก
  2. ให้ความรู้สึกติดตามอริยาบทของร่างกาย
  3. ให้รู้ว่าจิตใจกำลังทุกข์หรือสุข
  4. ให้รับรู้ถึงสิ่งที่มากระทบจิตใจแล้วปล่อยวางเสีย
หากมีความทุกข์หรือมีปัญหาต่างๆในชีวิต ทางแก้ไขอีกทางหนึ่งที่จะสามารถทำได้คือ การทำบุญสะเดาะเคราะห์ ซึ่งมีวิธีที่แตกต่างและทำได้อย่างง่ายดายดังนี้


  • ชะตาชีวิตตกต่ำ ให้ไปไหว้พระแล้วทำบุญเติมน้ำมันตะเกียงหรือถวายหลอดไฟฟ้า โคมไฟแก่พระภิกษุสงฆ์ 
  • เจ็บไข้ได้ป่วย ให้ถวายยาแก่พระภิกษุ หรือบริจาคเงินที่โรงพยาบาลสงฆ์ ลดละเลิกการกินเนื้อสัตว์
  • กิจการค้าไม่ดี บูชาพระสังกัจจายน์ ด้วยผลไม้ 7 อย่าง หรือไปกราบไหว้พระพรหม หรือกราบบูชาพระพุทธเจ้าหลวง
  • ความขัดแย้งและปัญหาในครอบครัว กราบไหว้พระภูมิเจ้าที่ เจ้าทางผีบ้านผีเรือน เลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า ถวายสังฆทาน
  • การงานมีอุปสรรค ทำบุญปล่อยปลาไหล บูชาพระพรหม เติมน้ำมันตะเกียงที่วัด
  • เกิดอุบัติเหตุบ่อย ถวายพวงมาลัยให้แม่ย่านางประจำรถ อัญเชิญพระพุทธรูปองค์เล็กมาบูชาไว้ในรถ
  • ชีวิตผิดหวัง ทำบุญปล่อยหอยขม ถวายโต๊ะหมู่บูชาแก่วัดใกล้บ้าน
  • เป็นทุกข์เพราะลูกหลาน ไปทำบุญที่บ้านพักคนชรา ปฏิบัติต่ิอพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ด้วยความรัก ให้ท่านทั้งหลายมีความสุข ไปทำบุญกับเด็กอนาถา
  • มีศัตรูคิดร้าย ไปบูชาพระศิวะ พระนารยณ์
  • การเงินติดขัด ไปบริจาคทานแก่ผู้ยากไร้
  • ครอบครัวร้าวฉาน ให้ทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่ญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับ
ชาวพุทธย่อมรู้จักดีเกี่ยวกับการรักษาศีล 5  แต่ไม่ค่อยมีใครใส่ใจปฏิบัติอย่างจริงจังทั้ง 5 ข้อ การรักษาศีลคือการทำความดี จะส่งผลดีกับชีวิตเราดังนี้
  1. ผู้ที่ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จะมีอายุยืนยาว สุขภาพแข็งแรง
  2. ผู้ที่ไม่ลักทรัพทย์ จะมีเงินทองทรัพย์สมบัติ
  3. ผู้ที่ไม่ผิดลูกเมียเขา จะมีครอบครัวที่อบอุ่นเป็นสุข
  4. ผู่ที่ไม่พูดปด จะมีคนเชื่อถือในคำพูด มีแต่คนนับถือและต้อนรับ
  5. ผู้ที่ไม่ดื่มสุรา จะมีสติปัญญาดี ชีวิตจะรุ่งเรือง
นอกจากธรรมมะจะช่วยให้จิตใจของเรามีความสงบแล้ว การได้ฟังหรือได้แง่คิดบางประการนั้น จะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างมีสติมากขึ้น 

เภสัชกรพงศ์ปกรณ์ พิชิตฉัตรธนา กล่าวว่า 
พวกเราในฐานะพุทธศาสนนิกชน
 เราเชื่อเรื่องกฏแห่งกรรมอยู่แล้ว ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
 เรารู้ดีว่าชีวิตเกิดจากกรรม เป็นไปตามกรรมและสิ้นสุดด้วยกรรม
 คนบางคนปล่อยชีวิตตามยถากรรม ด้วยข้ออ้างที่ว่าชีวิตเป็นไปตามกรรม 
แก้ไขอะไรไม่ได้ ก็ให้มันเป็นไปตามนั้น
 ไม่เห็นจะต้องไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรนี่
 เป็นความคิดที่ผิด เพราะกรรมนั้นมีทั้งกรรมใหม่และกรรมเก่า
 กรรมเก่าเราแก้ไขไม่ได้ แต่กรรมใหม่เรากำหนดได้
 นั้นคือหมั่นทำความดี ให้มากๆ
มันจะช่วยผ่อนปรนผลของกรรมเก่าให้บรรเทาลง 
ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นแน่นอน และอยากให้ท่านฝึกสื่อสารกับจิตใต้สำนึก
 ให้จิตใต้สำนึกช่วยนำพาตัวเราให้ผ่านพ้นปัญหาต่างๆ

วิธีการคือหลับตาลงด้วยความผ่อนคลาบ 
ปล่อยวางเรื่องต่างๆ ออกไปจากความคิด 
พูดกับตัวเองในใจว่าตอนนี้อยากได้อะไร 
เช่นขอให้ปัญหาหนี้สินผ่อนคลายลง
ขอให้สุขภาพดีขึ้น ขอให้การงานราบรื่น ขอให้มีความสุข เป็นต้น
หลังจากนั้นกำหนดจิตสงบนิ่งที่กลางกระหม่อม
จิตใต้สำนึกจะรับรู้สิ่งที่เราต้องการ
และช่วยกระตุ้นสมองกับร่างกายให้ทำหน้าที่ต่อไป 
จนเราได้สิ่งที่บอกกับจิตใต้สำนึก


ขอขอบพระคุณเภสัชกรพงศ์ปกรณ์ พิชิตฉัตรธนา
ผู้เรียบเรียง หนังสือ "ดูแลสุขภาพ บำบัดโรค ด้วยสมาธิและจิตใต้สำนึก"


โรคอหังการเป็นพิษ


อหังการคือความทะนงตนอวดกล้าบ้าบิ่น ไม่เกรงกลัวใดๆ
ลักษณะอาการ
หลงตนจัดจนทะลักออกมาเป็นละเมอสดๆ (ละเมอโดยตั้งใจ)
ชอบทำอะไรเสี่ยงๆ อย่างไม่เกรงกลัวใคร
พร้อมปะ ฉะ ดะ ทุกคนที่ขวาง ใครเข้ามาใกล้จะกลายเป็นเหยื่่อให้ตัวตนจอมอหังการดูหมิ่นขบเคี้ยวเล่น
ชีวิตมีโอกาสตายโหงสูงมาก หากรอดมาก็มักพิการ
เหตุและสมุฏฐาน
เกิดจากจิตใจ โลกสัมพันธ์ งานความสัมพันธ์ และกรรมไม่ลงตัว
เทคนิคการใช้ประโยชน์

  1. เอาไว้ข่มขวัญศัตรูยามคับขัน
  2. เอาไว้ทำในสิ่งที่คนอื่นไม่กล้าทำ แต่จำเป็นต้องทำ เช่นอวดกล้า เมื่อยามผีหลอกและทุกคนตกในความกลัวหมด แต่ต้องพิจารณาให้ดี หากใช้ในสถานการณ์ไม่เหมาะจักเป็นโทษมากกว่าคุณ


วิธีการบำบัด

  1. พิจารณาธรรมสัจจ์เนืองๆว่า ตัวตนนี้แหละคือตัวเหี้ยในตัวมนุษย์ เป็นลูกของเจ้าพ่ออวิชชากับเจ้าแม่ตัญหา ตัวเหี้ยตัวนี้เองที่เป็นทุกข์ และลากพาใจที่เลี้ยงมันไว้ให้ไปทุกข์ด้วยตลอดมาตลอดไป จนกว่าใจดวงใดจะประหารเหี้ยได้จึงหลุดพ้น  ใครมีอหังการมากแสดงว่าเหี้ยของคนนั้นตัวโตมาก
    ใครอวดตนมาก แสดงว่าคนนั้นมีอวิชชามากดังนั้น แม้โง่อยู่ก็อย่าอวดไง่ให้งั่งเลย จะน่าสมเพช
  2.  อยู่คนเดียวไว้ก่อน หากยังปราบเหี้ยตัวนี้ไม่ได้ ขืนออกไปสู่โลกภายนอกอาจตายโหงได้ หากสามารอยู่ในป่าลึกได้จะดี  จะเห็นธรรมชาติชัดกว่าทุกคน เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติเหมือนกันหมด ไม่มีใครสูงไม่มีใครต่ำ
  3. นอนดูดาวกลางคืน พิจารณาจักรวาลอันเวิ้งว้างไร้ขอบเขต ชีวิตมนุษย์แต่ละคนนั้นเล็กน้อยยิ่งนัก เป็นเพียงฝุ่นจักรวาล เท่านั้น ไม่มีใครยิ่งใหญ่หรอก ที่คิดว่ายิ่งใหญ่นั้นล้วนหลอกตัวเอง และหลอกกันและกันเท่านั้น
  4. สวดสัจจ์มนต์เตือนสติตนเนืองๆว่า "สังขิตเตนะ ปัญจุปาทา นักขันธาทุกขา ว่าโดยย่อ การยึดถือในร่างกาย ความรู้สึก ความทรงจำ ความคิด และการรับรู้ เป็นทุกข์ และไม่เป็นตน ผู้ละยึดถือทั้งปวงเสียได้ ย่อมประเสริฐสูงส่ง" เจ้าความรู้สึกอหังการที่ปรากฎอยู่นี้เป็นเพียงของหลอกเดี๋ยวมาเดี๋ยวก็หายไป
  5. หากอหังการขึ้นอย่าไหลตามหรือทำตามมันเด็ดขาด หากมันอยากพูดให้ปิดปากเลย
  6. เพ่งตัวตนด้วยญาญโดยความเป็นก้อนทุกข์ และบีบมันด้วยสมาธิญาณลึกให้สุดให้ตัวตนแตกไปเลย แล้วจะสลายยิ่ง
ระบบป้องกัน
ให้สวดอนัตตาญาณเนืองๆดังนี้ "ความสำคัญจริงแท้ของใครๆ คือไม่มีใครเป็นอะไรแท้จริง" ตัวโง่(อวิชชา) เท่านั้นที่คิดว่าตนเป็นนั้นเป็นนี่ หรือคนอื่นเป็นนั้นเป็นนี้กันอยู่

วันนี้อ่านหนังสือ พุทธวิธี การบำบัดความผิดปกติของชีวิต ของอัคร ศุภเศรษฐี