ธรรมมะชนะใจ


 มีคำสอนโบราณว่า   "ถ้านกกินเป็นบุญ ถ้าคนกินเป็นทาน"  แล้วมันจะไม่ถูกขโมยเลยตลอดชีวิต     มันเป็นการทำบุญให้ทานไปทุกที เลยทำให้ชีวีตมีแต่ความสุข ด้วยจิตคิดดีตลอดนั้นเอง ถ้ามนุษย์คิดกันได้อย่างนี้ทุกคน ความโกรธก็จะหมดไป ไม่ต้องฆ่าสัตว์ไม่ต้องยิงสัตว์ เวรก็ระงับไป ความโกธรแค้นก็สิ้นสุด ความเป็นมนุษย์ก็ผุดขึ้นมา พระพุทธองค์ทรงสอนให้ฆ่ากิเลส เพราะฆ่าแล้วไม่บาป ยิ่งฆ่ามากเท่าไร บุญยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ฆ่ากิเลสทุกวันก็ได้บุญทุกวัน ทั้งนี้และทั้งนั้นต้องฆ่าให้ถูกวิธี จึงจะถูกกับโรคกับยา นั่นคือ

ให้ฆ่าความโกรธ ด้วยการไม่โกรธตอบ 
ฆ่าความชั่วด้วยความดี
ฆ่าความตระหนี่ด้วยการให้
 และฆ่าคนพูดพล่อยด้วยคำสัตย์ 

       มีกุฎมพีผู้หนึ่ง ไปฟังธรรมที่วัดในเวลากลางคืน  บุรุษทาสผู้หนึ่งมาบอกแก่กุำมพีว่า โจรทั้งหลายล้อมบ้านไว้หมดแล้ว กุฎมพีกล่าวว่า "ทรัพย์ของโจรโจรก็นำไป ไม่ใช่ของโจรโจรก็นำไปไม่ได้" แล้วฟังเทศนาต่อ
     บุรุษทาสก็รีบกลับมาสู่บ้าน เห็นโจรทั้งหลายขึ้นสู่เรือนก็รีบกลับไปบอกกุฎมพีว่า โจรทั้งหลายขึ้นไปบนเรือนแล้ว กุฎมพีกล่าวว่า "ทรัพย์ของเราก็อยู่กับเรา ทรัพย์ของโจรโจรก็เอาไป" แล้วฟังเทศนาต่อ
     บุรุษทาสก็รีบกลับมาสู่บ้าน เห็นโจรขนทรัพย์ลงจากบ้าน ก็รีบกลับไปบอก กุฎมพีว่า โจรขนทรัพย์ลงจากเรือนแล้ว กุฎมพีจึงว่า "ทรัพย์ของเราก็อยู่กับเรา ทรัพย์ของโจรก็โจรเอาไป" แล้วฟังเทศนาต่อ       บุรุษทาสก็รีบกลับสู่บ้าน แล้วบอกกับโจรว่า  ทรัพย์เหล่านี้เจ้าของเขาไม่ยินดีแล้ว ท่านจงนำไปตามปรารถนาเถิด โจรทั้งหลายได้ฟังเช่นนั้น ก็พากันสังเวชสลดใจ ทรัพย์นี้แม้เจ้าของเขาก็ไม่ยินดีแล้ว เราจะขนทรัพย์ไปทำอะไรเล่า จึงเอาทรัพย์ไปไว้บนเรือนดังเก่า แล้วพากันสู่วิหารได้ฟังพระสัทธรรมเทศนา สำเร็จมรรคผลตามวาสนาของตนที่ทำมา(มงคลทีปนีแปล หน้า ๓๔๖)

เมื่่อความสูญเสียเกิดขึ้นให้คิดว่า "ไม่ใช่ของเรา แล้วจะไม่เสียอะไรเลย"

เมตตาธรรมะขจัดความมุ่งร้าย


เมตตา ธรรมะขจัดความมุ่งร้าย สลายกรรมเวร

เมตตาเป็นเครื่องทำลายความมุ่งร้าย
หรือความพยาบาทอย่างแน่นอน เมตตาจึงเป็นเหตุ
แห่งความสุขที่เห็นได้ชัด เป็นเหตุที่ควรสร้างให้มีขึ้น
เพื่อทำความทุกข์ให้ลดน้อยถึงหมดสิ้นไป

การพยายามมองคนในแง่ดี ในแง่ที่น่าเห็นอกเห็นใจ
พยายามหาเหตุผลมาลบล้างความผิดบกพร่องของคนทั้งหลาย
และการพยายามคิดว่าคนทุกคนเหมือนกัน เป็นธาตุุดินน้ำไฟลมอากาศด้วยกัน
ไม่ควรจะถือเป็นเราเป็นเขา และเมื่อไม่ถือเป็นเราเป็นเขาแล้ว 
ก็ย่อมไม่มีการมุ่งร้ายต่อกันเป็นธรรมดาความปรารถนาดีต่อกันย่อมมีได้ง่าย
 และนั้นแหละเป็นทางนำมาซึ่งความลดน้อยของความทุกข์

การพยายามคิดให้เห็นความน่าสงสาร น่าเห็นใจของทุกชีวิตที่ต้องประสบพบผ่านทุกวันเวลา 
คือการอบรมเมตตา ไม่ว่าใครจะเป็นอย่างไรก็ตาม เรารู้ไม่รู้อย่างไรก็ตาม

เมื่อใครนั้นผ่านเข้ามาในสายตาเรา 
ให้ปรุงคิดเอาเองว่าเขาอาจจะกำลังมีทุกข็แสนสาหัส 
แม่พ่อลูกอาจกำลังเจ็บหนัก เขาอาจกำลังขาดแคลนเงิน 
จนไม่มีจะซื้อข้าวปลาอาหาร เขาอาจจะอย่างนั้น
อาจจะอย่างนี้ ที่น่าสงสารเห็นใจทั้งนั้น 
คิดเอาเองให้จริงจังจนสงสารเขา จนอยากจะช่วยเขา 
จนสลดสังเวช เห็นความเกิดเป็นความทุกข์ 
พยายามคิดเอาเองเช่นนี้ ทุกวัน ทุกเวลา 
แล้วเมตตาจะซาบซึ้งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับใจยิ่งขึ้นเป็นลำดับ


ผู้เขียน พบพระวรคติธรรม ของสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
ท่านทรงเขียน ธรรมะเรื่องความเมตตา เพื่อให้เราใช้เมตตาสลายกรรมเวร ที่มีต่อกัน สลายโมหะ โทสะ 
ที่จะผูกเนื่องเป็นกรรมติดต่อกันไป ท่านเมตตาสอนอุบายในการทำให้เราเกิดเมตตาออกจากหัวใจทีเดียว

จากหนังสือ มหาเมตตาใหญ่ แก้ไขกรรมเวร
ความอาฆาตแค้น ระหว่างเจ้ากรรมนายเวร เป็นห่วงโซ่เวรกรรมที่ผูกมัดแน่น
จองจำไว้ในคุกแห่งความทรมาน การสวดมนต์แผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวร
เพื่อขออภัยกรรม เป็นวิธีเดียวที่จะนำตนให้พ้นจากห่วงโซ่แห่งกรรมได้

บทสวดมนต์ที่ผู้เขียนพบจากหนังสือ มหาเมตตาใหญ่ แก้ไขกรรมเวร 
เริ่มแรกผู้เขียนก็ไม่เข้าใจว่า จะช่วยได้อย่างไร 
แต่เมื่อสวดไปเรื่อยๆ พร้อมศึกษาคำแปล จิตเป็นสมาธิ
จึงพบว่า การสวดมนต์บทนี้ เป็นการเชื่อมโยงจิตวิญญานของเรา 
ให้เราแผ่เมตตาให้กับเจ้ากรรมนายเวรและสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้
จนจิตนั้นอ่อนลงด้วยโมหะโทสะ พบความเมตตาเข้าสู่ดวงจิตอย่างน่าอัศจรรย์
ความโกรธหายไป โทสะที่มีน้อยลง 
ความเมตตาเข้าแทนที่ ความคิดบวกเข้ามาในสมอง 
เห็นสิ่งไรก็ทำใจได้ อันเนื่องมาจากความซาบซึ้งในความเมตตา




อุปมาเรื่องสีของใจ


วิราคะตรงข้ามกับคำว่าราคะ  ราคะแปลว่าย้อม ติด เหมือนอย่างสีย้อมผ้า
 และเมื่อย้อมแล้วติดผ้า
สมเด็จพระญานสังวร สมเด็จพระสังฆราช ท่านกล่าวว่า  
การติดเรียกว่าราคะ  อารมณ์ที่รักใคร่ ปรารถนา พอใจทั้งหลาย 
อันไดเแก่ลาภ ยศ สรรเสริญ สุจ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องย้อมใจ 
และเมื่อเครื่องย้อมใจเหล่านี้เข้าไปทำการย้อมใจ ใจก็ติดสี ใจที่ติดสี คือติดเครื่องย้อมใจ 
อุปมาเรื่องสีของใจ ท่านจึงแสดงอุปมาเปรียบเทียบสีของใจไว้ต่างๆดังนี้

ผู้ที่มีใจเป็นสีดำ
ใจที่มีสีดำ เพราะติดเครื่องย้อมที่เป็นสีดำนั้นปรากฏเป็นใจที่มีลักษณะโหดร้าย
 มีความโลภจัด มีความโกธรจัด มีความหลงจัด ปราศจากความรู้จักบาป บุญคุณโทษ 
ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ มีลักษณะที่เรียกว่าอันธพาล 
คือเป็นตนเขลา เป็นตนโง่ เหมือนดั่งเป็นผู้บอด ดั่งนี้ก็เป็นผู้มีใจสีดำ

ผู้มีใจเป็นสีเขียว
ส่วนใจที่มีสีเขียวนั้น เป็นใจที่ดีขึ้นมาหน่อยหนึ่งคือรู้จักที่ถูกที่ผิด
 รู้จักให้ความยุติธรรม มีการพิจารณาปฏิบัติตามผิดตามถูก

ผู้ที่มีใจสีแดง
ใจที่มีสีแดงก็เป็นใจที่ดีขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง
 รู้จักมุ่งหาการกระทำความดี อันเป็นบุญเป็นกุศลต่างๆขึ้น

ผู้ที่มีใจเป็นสีเหลือง
ใจที่เป็นสีเลือง ก็เป็นใจที่ดีขึ้นมาอีก รู้จักที่จะประพฤติธรรมสูงขึ้น

ผู้ที่มีใจเป็นสีขาว
ใจที่มีสีขาวก็เป็นใจที่สูงขึ้นมาอีกมาก ใกล้จะถึงความบริสุทธ์อย่างยิ่ง
 จนถึงขั้นรู้จักออกบวชเป็นฤาษี เป็นโยคี 
ปฏิบัติธรรมอันเป็นนักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา
หรือว่าเป็นภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา

ผู้ที่มีใจเป็นสีขาวอย่างยิ่ง
บรรลุถึงตวามบริสุทธิ์อย่างยิ่ง
ส่วนใจที่มีสีขาวอย่างยิ่ง กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า
 เป็นใจที่สำรอกสีออกได้โดยสิ้นเชิง เป็นใจที่บริสุทธิ์อย่างยิ่ง
 ไม่มีสี ได้แก่ผู้บรรลุถึงความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง 
คือพระพุทธเจ้าและอรหัตสาวกทั้งหลาย

หากเราเกิดมาเป็นมนุษย์ ยังติดเครื่องย้อม คือติดในราคะ ย่อมทำให้ใจมีสี ตามที่ท่านอุปมา ดังนั้นแล้วท่านจึงสอนให้ฝึกใจ ทำใจให้สงบ อย่าติดในเครื่องย้อมต่างๆ กัน ให้เราฝึกใจอย่าติดในเครื่องย้อมด้วยการปฏิบัติธรรม การถือศึล สมาธิ ฝึกสติ รวมทั้งการให้ทาน ทำได้ดังนี้แล้วใจจะสงบ



www.ranongtour.com
www,jansomranong.com
http://blog2505.blogspot.com/#

วันวิสาขบูชา-ความสงบของใจเป็นพื้นฐานที่ตั้งของธรรมะ

  


วันนี้ เป็นวันวิสาขบูชา  ตรงกับวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  ในปีนี้นับเป็นอภิลักขิตกาลพิเศษ คือเป็นปีที่ครบ 2,600 พุทธศตวรรษ หรือ 2,600 ปี แห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา  เป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธโคดม โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิด ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่า เป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก "วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" 
พระบุญตา ปสนุนจิตุโต ได้สอบถามธรรม ท่านอาจารย์ เทสก์ ว่า"เรื่องธรรมมะเป็นของมีอยู่ประจำในตัวของแต่ละบุคคล จะสูงต่ำหยาบหรือละเอียดก็มี ทำไมคนเรามองไม่เห็นธรรมนั้น เพราะเหตุใด"
ท่านอาจารย์ เทสก์ ได้ตอบสาธยายธรรมว่าเรื่องธรรมมะเป็นของบุคคลเห็นได้ยากเหมือนกัน ธรรมมะมีประจำไม่ใช่เฉพาะบุคคลเท่าน้น แท้จริงธรรมะเป็นของมีอยู่ทั้วหมดในโลกนี้ ที่ท่านเรียกว่า รูปธรรม นามธรรมนั่นเอง  ที่คนมองเห็นได้ยาก ก็เพราะพื้นฐานภูมิของใจมันยังมืดด้วยกิเลส ซึ่งไม่สามารถจะรับรองหรือรับเอาธรรมะนั้นไว้คิดพิจารณาค้นคว้า  ได้แก่ใจยังไม่สงบ 

ความสงบของใจเป็นพื้นฐานที่ตั้งของธรรมะธรรมมะเป็นความสงบ คือคนเราโดยมากหาธรรมมะมีแต่คิดส่งส่ายออกไปภายนอก ถึงรู้ธรรมะตามเถอะ รู้ตามปริยัติที่บัญญัติโดยตำรา หรือว่าพิสูจน์ตามหลักฐานหรือคำบาลีนั้นยังไม่ใช่ตัวธรรมมะที่แท้จริงเป็นแต่รู้ในตำราเราจะเอามาใช้ให้ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง ยังไม่ได้ก่อน ต่อเมื่อรู้ปัจจัตตังเฉพาะตนเท่านั้น จึงจะนำเอามาใช้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ฉะนั้นธรรมะจึงเป็นของเห็นได้ยาก
หากเรารู้ธรรมะแต่เพียงตำราด้วยสมองของเรา แต่ใจไม่มีความสงบ จึงเห็นธรรมได้ยาก

ขอขอบคุณหนังสือ ธรรมปฏิบัติ (สนทนาธรรมระหว่างอาจารย์กับศิษย์) โดย
พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์(เทสก์ เทสรังสี)






ใจสะอาด สว่าง สงบ เป็นลาภอย่างยิ่ง


อโรคยา ปรมา ลาภา
ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง    

เมื่อบุคคลสามารถปรับใจของเราให้  ใจสะอาด สว่าง สงบ 
เป็นลาภอย่างยิ่ง รักษาใจได้อย่างนี้  สำรวมระวังได้เช่นนี้แล้ว 
ความสะอาด ความสงบ ความสว่าง ก็จะบังเกิดขึ้นภายในจิตใจ 
โรคใจที่มีปัญหา ก็จะไม่เสียดแทงจิตใจจนให้ถึงกับเร่าร้อน 
ซึ่งต่างกับใจที่ตกเป็นทาสแห่งตัญหา ย่อมประสพแต่ความเร่าร้อน

เมื่อไม่ปราถนาความเร่าร้อน 
ก็ไม่ควรให้โรคนั้นเกิดขึ้นภายในใจของตนจนรุนแรง และเสียดแทงจิตใจ
โดยนัยดังกล่าวมา เมื่อทำได้เช่นนี้
ชีวิตของบุคคลนั้น ได้ชื่อว่าประสบยอดแห่งลาภ
เพราะสามารถบำบัดได้ทั้งโรคกายและโรคจิต 
ทำให้ชีวิตได้ลาภอย่างแท้จริง

ใจที่รู้จักอิ่ม รู้จักพอ รู้จักหยุด ในบางโอกาสนั้น
จะเป็นใจที่มีความโปร่งเบาสบาย
 ไม่มีอาการซัดส่าย เร่าร้อน เพราะถูกเสียดแทงจากตัณหาที่เกิดขึ้น

ความไม่พอใจ ใจจน เป็นคนเข็ญ  พอแล้วเป็น เศรษฐี มหาศาล
จนทั้งนอก ทั้งใน ไม่ไดการจงคิดอ่าน แก้จน เป็นคนพอ

หากใจของเรารู้จักพอ ถึงแม้ว่าบางคนอาจจะมีเงินทองน้อย แต่รู้จักคำว่าพอ ใจก็ย่อมมีความสุข 
ตรงกันข้าม รวยมาก ยิ่งรวยก็ยิ่งอยากให้มีมากขึ้น ใจก็ต้องเร่าร้อนด้วยความอยาก หากทำใจให้รู้จักพอ รู้จักหยุดใจก็สงบ เบาสบาย ไม่เกิดกระทบให้เกิดโรคทางกาย

ขอขอบคุณหนังสือ "ความสุขอันเกิดจากธรรมะ" 
พระเทพดิลก พระเดชพระคุณหลวงพ่อระแบบ ฐิตญาโณ





เพียงคิดแต่จะครอบครอง



หากคิดจะครอบครองสิ่งใด และยึดติดสิ่งนั้นว่าเป็นของเรา.
ตัวเรา ความคิดทุกอย่างจะวิ่งเข้าหาตัวเรา
ไม่ว่าผิดหรือถูก คิดเข้าหาตนเองเป็นหลัก.
 เป็นภัยคุกคามของความคิด ไม่มองสิ่งรอบข้าง
 ลืมคิดถึงชีวิตที่กำลังสั้นลงทุกที
 ลืมความรัก ความดีที่มีให้กัน
 ลืมไปเลยว่าวันหนึ่ง เราต้องตายจากกัน. 
วันคืน ที่มีอยู่กลับกลายเป็นวันไร้ค่า. ไม่มีความสุข เพียงคิดแต่จะครอบครอง

ไม่มีทุกข์ใดยิ่งใหญ่ กว่าการคิดครอบครอง
ทุกข์ที่ต้องรักษา 
ทุกข์ทีกังวลว่าจะหลุดลอย
ทุกข์จากโมหะครอบงำ
แล้วทำไมจึงคิดที่ครอบครองตลอดไป

วันนี้เขียนเอง .......................


รางวัลของความเคารพนับถือ


การเคารพนับถือผู้อื่นด้วยความเป็นธรรมชาติ 
เคารพในความคิด เคารพในความเป็นตัวตนของผู้อื่น ให้เกียตริผู้อื่น
 เป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับตนเองได้
 และยังเป็นการพัฒนาจิตของตนเองไปอีกขั้นหนึ่ง
 การแสดงออกถึงความเคารพนับถือผู้อื่นโดยธรรมชาติ 
ย่อมได้รับความเคารพนับถือโดยธรรมชาติจากผู้อื่นและสิ่งรอบข้าง
 การเคารพนับถือผู้อื่นเป็นกระจกสะท้อนเงาคุณค่าของเราได้

"เราเก็บเกี่ยวสิ่งที่เราหว่านไว้"
 เหนือสิ่งอื่นใดๆ ความเคารพนับถือจะเก็บเกี่ยวผลมากมายในชีวิต 
สิ่งที่เราส่งออกไปจะหวนกลับคืนมา 
กฎทองที่ว่า จงปฏิบัติต่อผู้อื่นแบบที่เราต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา
 ยังเป็นกฎทองที่ดีเหมือนเดิม
 คนดีจะสร้างชึวิตของพวกเขาบนรากฐานของความเคารพนับถือ

ผลลัพท์จากการปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเคารพนับถือ 
มันช่วยให้เราได้พัฒนาทักษะและนิสัยในการเข้าสังคมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
มันทำให้เราทำให้ผู้อื่นรู้สึกดีขึ้น
มันทำให้เราได้รับความเคารพนับถือจากผู้อื่นคืนกลับคืนมา
มันทำให้เราสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น
มันทำให้เราได้พัฒนาความรู้สึกว่าตัวเองมีค่าขึ้น
มันทำให้เราสร้างชื่อเสียงที่มั่นคง


ชื่นชมในความแตกต่าง


ความจริงไม่เคยชัดเจนตราบใดที่เราคิดว่าพวกเราแต่ละคนคือศุนย์กลางของจักรวาล
โธมัส เมอร์ตัน
เบญจามิน แฟรงคลิน เปลี่ยนแปลง
หลังจากได้ออกแบบการทดลองอันมีชื่อเสียง เกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง 
เขาสาบานว่าจะมองหาสิ่งดีๆในตัวผู้อื่น
 แทนที่จะมองหาข้อบกพร่องในตัวพวกเขา และจะพูดแต่สิ่งดีดีเกี่ยวกับผู้คนเท่านั้น
 เบญจามินบอกว่าการเปลี่ยนแปลงนี้มีผลต่ออิทธิพลต่อชีวิตเขามาก 
เขาสร้างมุมมองในแง่ดีมากขึ้นในตัวผู้อื่น
และในขณะเดียวกันก็เพื่อสร้างความสัมพีนธ์ของตัวเองให้ดีขึ้นด้วย 
เขายกคุณความดีของความสำเร็จ
ในฐานะที่เป็นผู้มีชั้นเชิงในการพูดของเขาให้กับนิสัยเหล่านี้

ทำไมคนส่วนใหญ่จึงตัดสินผู้อื่นละ 
คำตอบนั้นง่ายๆแต่ไม่น่าที่จะยอมรับได้
 ก็เพราะเราทุกคนล้วนเห็นแก่ประโยชน์ของตัวเองทั้งนั้นไงละ
 เราแสวงหาเพื่อตัวเราเอง 
และบ่อยครั้งที่เอาความจริงไปสับสนกับความรู้ที่จำกัดของเรา  
 เราวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นเกือบตลอดเวลา
 ซึ่งเพียงเพราะพวกเขาทำทุกอย่างแตกต่างไปจากที่เราทำเท่านั้น
 สิ่งที่เรากำลังพูดจริงๆก็คือ "คุณไม่โอเค เพราะคุณไม่เหมือนฉัน"
 และเราจะพูดจาดูถูกกันเอง
 เช่นเมื่อเราพูดถึงกลุ่มการเมืองหรือกลุ่มนักกีฬา "คุณชอบกลุ่มนั้นได้อย่างไง" 
เป็นสิ่งที่ทั้งคู่คิดขณะเถียงกัน
 พูดอีกอย่างก็คือ "มีแต่สิ่งที่ัฉันชอบเท่านั้นที่ดี"

การเอาชนะความเห็นแก่ตัว
 และการเอาชนะวิธีการมองชีวิตแบบแคบแคบของเรา 
คือสัญญลักษณ์ของความเจริญเติบโตและความเป็นผู้ใหญ่ที่แท้จริง
 เวลาที่เราทำเช่นนั้น เราจะเริ่มชื่นชมผู้อื่นได้เต็มที่มากขึ้น
 ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อทางศาสนา มุมมองทางการเมือง
 อายุ เชื้อชาติ วัฒนธรรม กิจกรรมยามว่าง หรือรูปแบบการดำเนินชีวิต
 เราจำเป็นต้องตระหนักไว้ว่าพวกเราทุกคนมีสองสิ่ง ที่เหมือนกัน
 นั้นคือเราเป็นผลลัพธ์ของลักษณะทางพันธุกรรมของตัวเรากับประสพการณ์ของเรา 
ไม่มีใครมีชีวิตที่"ถูกต้องสมบูรณ์แบบ"
เมื่อเรายิ่งเรียนรู้ที่จะชื่นชมกับความแตกต่าง
และความเป็นเอกลักษณ์ในตัวผู้อื่นได้มากเท่าไหร่
 เราก็ยิ่งเข้าใกล้การสร้างความเคารพนับถือชีวิตของตัวเราได้มากขึ้นเท่านั้น

จากหนังสือ มีชีวิตที่ดีกว่า
แปลโดย วรรธนา วงษ์ฉัตร




ใจที่ตั้งไว้ดีแล้ว นำความสวัสดีมาให้


พระผู้ัมีพระภาคเจ้า ทรงแสดงการบำบัดรักษาโรคทางใจเอาไว้
ธรรมมะทั้งหมดที่ทรงแสดงไว้ เช่น
เรื่องของศีล สมาธิ ปัญญา
เป็นการแสดงเพื่อบำบัดขจัดโรคทางใจ
เพราะโรคทางกายนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดา
กายเราเมื่อตายไปแล้วก็เผากันไปหมดสิ้นไป 
แต่ว่าใจนั้นไม่ได้เสร็จสิ้นไปตามร่างกาย
ใจได้เก็บเอาบาปเอาบุญเอากิเลสไว้ภายใน 
แล้วจะไปถือคติไปอุบัติในคติในภพต่างๆสืบต่อกันไป
ปัญหาที่ควรแก้ไขจึงอยู่ที่ใจ 
เพราะถ้าใจใครตั้งไว้ดีแล้ว
อะไรอะไรก็ดีไปหมด ไม่มีอาการเสียดแทงต่างๆ 
เราก็อาจสร้างความสวัสดีกับตนได้
เช่น คนทุพพลภาพบางคน ไม่มีมือด้วยซ้ำ
แต่เขาสามารถใช้เท้าไปในกิจการต่างๆได้ 
บางคนไม่มีเท้าแต่เขาสามารถตั้งตัวให้ได้รับความสุขในชีวิตได้
นี่เป็นการแสดงถึงความสำคัญของจิตใจ 
โรคที่ควรแก้ไขบำบัดรักษาคือโรคของจิตใจ
อย่างน้อยที่สุดอย่าปล่อยให้โรคทางใจออกมาทางกายเรา 
ถ้าออกมาเต็มตัวก็ต้องมีการต่อสู้ ต้องมีการแก่งแย่งชิงดีกัน
เพื่อตอบสนองความต้องการของตน 
อันเป็นอาการทะเยอมะยานอยากที่รุนแรง
มักแสดงออกมาในรูปของการแสวงหาเพื่อตอบสนองความต้องการ
บางครั้ง ก็มีการประหัตประหารกัน จนถึงการล้างผลาญ 
บางครั้งถ้าแรงมาก แม้แต่ความเคารพนับถือในครอบครัว 
ที่เคยมีอยู่ระหว่าง พ่อ แม่ ลูก ก็เลือนหายไป
ลูกอาจแย่งทรัพย์สมบัติจากพ่อแม่เป็นต้น นี้เป็นเพราะโรคจิตกำเริบอย่างรุนแรง

แล้วเรารักษาโรคทางจิตได้อย่างไร
พระพุทธองค์ทรงแสดงด้วย ศีล 
เพื่อป้องกันไม่ให้ออกรุนแรงและป้องกันโรคแสวงหา
แม้ยังคงแสวงหาอยู่แต่ก็ได้แสวงหาในกรอบของความถูกต้องทางศึลธรรม
ทรงแสดงขั้นของสมาธิ เอาไว้เพื่ออะไร
เพื่อควบคุมจิตใจไม่ให้มีอาการเร่าร้อนรุนแรงจนเกินไป
นั้นคือหากว่าบุคคลปรับใจของตนให้เกิดความยินดีในฐานะของตน
ความสุขใจก็จะเกิดขึ้น อาการดิ้นรนของใจก็ไม่ปรากฏออกมา
การปฏิบัติกรรมฐาน ในทางพุทธศาสนานั้น
เพื่อบรรเทายับยั้งในกามฉันท์
ความพอใจรักใคร่ในสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น 
พอจิตเป็นสมาธิก็จะหยุดคิดหยุดดิ้น
ความอยากต่างๆที่เคยมีอยู่นั้น 
ก็จะบรรเทาเบาบางลงไป ตราบใดที่ใจอยู่ในสมาธิ
ตราบนั้นตัญหาที่จะแสดงอาการเป็นพิษออกมาไม่ได้
ส่วนปัญญานั้น แน่นอน ต้องการให้ขจัดไปโดยสิ้นเชิง แต่ก็เป็นเป้าหมาย
ที่สูงไกลจะต้องใช้ความเพียรพยายาม

พระเทพดิลก พระเดชพระคุณหลวงพ่อระแบบ ฐิตฌาโน 
 "ยอดแ่ห่งลาภ"