วันวิสาขบูชา-ความสงบของใจเป็นพื้นฐานที่ตั้งของธรรมะ

  


วันนี้ เป็นวันวิสาขบูชา  ตรงกับวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  ในปีนี้นับเป็นอภิลักขิตกาลพิเศษ คือเป็นปีที่ครบ 2,600 พุทธศตวรรษ หรือ 2,600 ปี แห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา  เป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธโคดม โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิด ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่า เป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก "วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" 
พระบุญตา ปสนุนจิตุโต ได้สอบถามธรรม ท่านอาจารย์ เทสก์ ว่า"เรื่องธรรมมะเป็นของมีอยู่ประจำในตัวของแต่ละบุคคล จะสูงต่ำหยาบหรือละเอียดก็มี ทำไมคนเรามองไม่เห็นธรรมนั้น เพราะเหตุใด"
ท่านอาจารย์ เทสก์ ได้ตอบสาธยายธรรมว่าเรื่องธรรมมะเป็นของบุคคลเห็นได้ยากเหมือนกัน ธรรมมะมีประจำไม่ใช่เฉพาะบุคคลเท่าน้น แท้จริงธรรมะเป็นของมีอยู่ทั้วหมดในโลกนี้ ที่ท่านเรียกว่า รูปธรรม นามธรรมนั่นเอง  ที่คนมองเห็นได้ยาก ก็เพราะพื้นฐานภูมิของใจมันยังมืดด้วยกิเลส ซึ่งไม่สามารถจะรับรองหรือรับเอาธรรมะนั้นไว้คิดพิจารณาค้นคว้า  ได้แก่ใจยังไม่สงบ 

ความสงบของใจเป็นพื้นฐานที่ตั้งของธรรมะธรรมมะเป็นความสงบ คือคนเราโดยมากหาธรรมมะมีแต่คิดส่งส่ายออกไปภายนอก ถึงรู้ธรรมะตามเถอะ รู้ตามปริยัติที่บัญญัติโดยตำรา หรือว่าพิสูจน์ตามหลักฐานหรือคำบาลีนั้นยังไม่ใช่ตัวธรรมมะที่แท้จริงเป็นแต่รู้ในตำราเราจะเอามาใช้ให้ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง ยังไม่ได้ก่อน ต่อเมื่อรู้ปัจจัตตังเฉพาะตนเท่านั้น จึงจะนำเอามาใช้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ฉะนั้นธรรมะจึงเป็นของเห็นได้ยาก
หากเรารู้ธรรมะแต่เพียงตำราด้วยสมองของเรา แต่ใจไม่มีความสงบ จึงเห็นธรรมได้ยาก

ขอขอบคุณหนังสือ ธรรมปฏิบัติ (สนทนาธรรมระหว่างอาจารย์กับศิษย์) โดย
พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์(เทสก์ เทสรังสี)






ใจสะอาด สว่าง สงบ เป็นลาภอย่างยิ่ง


อโรคยา ปรมา ลาภา
ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง    

เมื่อบุคคลสามารถปรับใจของเราให้  ใจสะอาด สว่าง สงบ 
เป็นลาภอย่างยิ่ง รักษาใจได้อย่างนี้  สำรวมระวังได้เช่นนี้แล้ว 
ความสะอาด ความสงบ ความสว่าง ก็จะบังเกิดขึ้นภายในจิตใจ 
โรคใจที่มีปัญหา ก็จะไม่เสียดแทงจิตใจจนให้ถึงกับเร่าร้อน 
ซึ่งต่างกับใจที่ตกเป็นทาสแห่งตัญหา ย่อมประสพแต่ความเร่าร้อน

เมื่อไม่ปราถนาความเร่าร้อน 
ก็ไม่ควรให้โรคนั้นเกิดขึ้นภายในใจของตนจนรุนแรง และเสียดแทงจิตใจ
โดยนัยดังกล่าวมา เมื่อทำได้เช่นนี้
ชีวิตของบุคคลนั้น ได้ชื่อว่าประสบยอดแห่งลาภ
เพราะสามารถบำบัดได้ทั้งโรคกายและโรคจิต 
ทำให้ชีวิตได้ลาภอย่างแท้จริง

ใจที่รู้จักอิ่ม รู้จักพอ รู้จักหยุด ในบางโอกาสนั้น
จะเป็นใจที่มีความโปร่งเบาสบาย
 ไม่มีอาการซัดส่าย เร่าร้อน เพราะถูกเสียดแทงจากตัณหาที่เกิดขึ้น

ความไม่พอใจ ใจจน เป็นคนเข็ญ  พอแล้วเป็น เศรษฐี มหาศาล
จนทั้งนอก ทั้งใน ไม่ไดการจงคิดอ่าน แก้จน เป็นคนพอ

หากใจของเรารู้จักพอ ถึงแม้ว่าบางคนอาจจะมีเงินทองน้อย แต่รู้จักคำว่าพอ ใจก็ย่อมมีความสุข 
ตรงกันข้าม รวยมาก ยิ่งรวยก็ยิ่งอยากให้มีมากขึ้น ใจก็ต้องเร่าร้อนด้วยความอยาก หากทำใจให้รู้จักพอ รู้จักหยุดใจก็สงบ เบาสบาย ไม่เกิดกระทบให้เกิดโรคทางกาย

ขอขอบคุณหนังสือ "ความสุขอันเกิดจากธรรมะ" 
พระเทพดิลก พระเดชพระคุณหลวงพ่อระแบบ ฐิตญาโณ