อหังการคือความทะนงตนอวดกล้าบ้าบิ่น ไม่เกรงกลัวใดๆ
ลักษณะอาการหลงตนจัดจนทะลักออกมาเป็นละเมอสดๆ (ละเมอโดยตั้งใจ)
ชอบทำอะไรเสี่ยงๆ อย่างไม่เกรงกลัวใคร
พร้อมปะ ฉะ ดะ ทุกคนที่ขวาง ใครเข้ามาใกล้จะกลายเป็นเหยื่่อให้ตัวตนจอมอหังการดูหมิ่นขบเคี้ยวเล่น
ชีวิตมีโอกาสตายโหงสูงมาก หากรอดมาก็มักพิการ
เหตุและสมุฏฐาน
เกิดจากจิตใจ โลกสัมพันธ์ งานความสัมพันธ์ และกรรมไม่ลงตัว
เทคนิคการใช้ประโยชน์
- เอาไว้ข่มขวัญศัตรูยามคับขัน
- เอาไว้ทำในสิ่งที่คนอื่นไม่กล้าทำ แต่จำเป็นต้องทำ เช่นอวดกล้า เมื่อยามผีหลอกและทุกคนตกในความกลัวหมด แต่ต้องพิจารณาให้ดี หากใช้ในสถานการณ์ไม่เหมาะจักเป็นโทษมากกว่าคุณ
วิธีการบำบัด
- พิจารณาธรรมสัจจ์เนืองๆว่า ตัวตนนี้แหละคือตัวเหี้ยในตัวมนุษย์ เป็นลูกของเจ้าพ่ออวิชชากับเจ้าแม่ตัญหา ตัวเหี้ยตัวนี้เองที่เป็นทุกข์ และลากพาใจที่เลี้ยงมันไว้ให้ไปทุกข์ด้วยตลอดมาตลอดไป จนกว่าใจดวงใดจะประหารเหี้ยได้จึงหลุดพ้น ใครมีอหังการมากแสดงว่าเหี้ยของคนนั้นตัวโตมากใครอวดตนมาก แสดงว่าคนนั้นมีอวิชชามากดังนั้น แม้โง่อยู่ก็อย่าอวดไง่ให้งั่งเลย จะน่าสมเพช
- อยู่คนเดียวไว้ก่อน หากยังปราบเหี้ยตัวนี้ไม่ได้ ขืนออกไปสู่โลกภายนอกอาจตายโหงได้ หากสามารอยู่ในป่าลึกได้จะดี จะเห็นธรรมชาติชัดกว่าทุกคน เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติเหมือนกันหมด ไม่มีใครสูงไม่มีใครต่ำ
- นอนดูดาวกลางคืน พิจารณาจักรวาลอันเวิ้งว้างไร้ขอบเขต ชีวิตมนุษย์แต่ละคนนั้นเล็กน้อยยิ่งนัก เป็นเพียงฝุ่นจักรวาล เท่านั้น ไม่มีใครยิ่งใหญ่หรอก ที่คิดว่ายิ่งใหญ่นั้นล้วนหลอกตัวเอง และหลอกกันและกันเท่านั้น
- สวดสัจจ์มนต์เตือนสติตนเนืองๆว่า "สังขิตเตนะ ปัญจุปาทา นักขันธาทุกขา ว่าโดยย่อ การยึดถือในร่างกาย ความรู้สึก ความทรงจำ ความคิด และการรับรู้ เป็นทุกข์ และไม่เป็นตน ผู้ละยึดถือทั้งปวงเสียได้ ย่อมประเสริฐสูงส่ง" เจ้าความรู้สึกอหังการที่ปรากฎอยู่นี้เป็นเพียงของหลอกเดี๋ยวมาเดี๋ยวก็หายไป
- หากอหังการขึ้นอย่าไหลตามหรือทำตามมันเด็ดขาด หากมันอยากพูดให้ปิดปากเลย
- เพ่งตัวตนด้วยญาญโดยความเป็นก้อนทุกข์ และบีบมันด้วยสมาธิญาณลึกให้สุดให้ตัวตนแตกไปเลย แล้วจะสลายยิ่ง
ระบบป้องกัน
ให้สวดอนัตตาญาณเนืองๆดังนี้ "ความสำคัญจริงแท้ของใครๆ คือไม่มีใครเป็นอะไรแท้จริง" ตัวโง่(อวิชชา) เท่านั้นที่คิดว่าตนเป็นนั้นเป็นนี่ หรือคนอื่นเป็นนั้นเป็นนี้กันอยู่
วันนี้อ่านหนังสือ พุทธวิธี การบำบัดความผิดปกติของชีวิต ของอัคร ศุภเศรษฐี