การรู้ใจคนอื่น


หากเราเข้าอัปปนาสมาธิได้
 บางคนทำบ่อยๆ เขาเรียกว่า ญานสมาบัติ 
คือไม่รับสิ่งกระทบใดๆ จิตที่เข้าอัปปนาสมาธิได้ 
จะเป็นจิตที่ละเอียดอ่อน หลักธรรมเรียกว่า เป็นจิตที่อ่อนสลวย
 ซึ่งสามารถรู้ความคิดเห็นคนอื่นได้ เจโตปริยญาณจะเกิดขึ้น
 ไปรู้ภพภูมิกำเนิดแต่หนหลังได้ เรียกว่า ปุเพนิวาสสานุสสติญาณ
 ไปรู้กฎแห่งกรรม ซึ่งเป็นกฎของเหตุและผลตามหลักวิทยาศาสตร์ 
เมื่อเหตุผลสัมพันธ์กัน และระบบประสาทของเราสามารถวิเคราะห์ได้ 
เช่น เมื่อเราทำงานวิจััยจะเป็นปริญญาตรี โท เอก ก็ตาม
 จุดมุ่งหมายของงานวิจัยคือ หาเหตุผลให้เชื่อมโยงกันให้ได้ แค่นั้นเอง
 ก็จะนำไปสู่ความจริงความจริงจะปรากฎขึ้น
 เช่นเดียวกัน ในสิ่งที่ระบบประสาทเข้าไม่ถึง 
คือสิ่งที่ใช้จิตสัมผัส ก็มีเหตุกับผลยืนยันกัน
 ดังนั้นกฎแห่งกรรมนั้นมีจริง 
แต่ลึกซึ้งเกินกว่าระบบประสาทเราจะเข้าไปรับรู้ได้ 
เราจะรู้ได้เพราะจิตละเอียดถึงขั้นนั้น และอภิญญา (ญาณโลกีย์)เกิดขึ้น ทุกคนมีสิทธิ์ทำได้

หมายเหตุ
                        แต่สิ่งที่ได้ผู้เขียน ได้รับในวันนี้ คือกุญแจที่ไขปัญหาให้กับผู้เขียน เนื่องจากผู้เขียนทำงานวิจัย และกำลังเขียนงานวิจัย แต่ประสพปัญหาคือ เมื่ออาจารย์ ที่ปรึกษาตรวจงาน ท่านเปลี่ยนรูปแบบงานวิจัยจากเดิม ไปเป็นอีกแบบซึ่งผู้เขียนหาเหตุผลไม่ได้ ว่าทำไมจึงเปลี่ยนรูปแบบงานวิจัยนี้  เมื่อตอบเหตุผลให้ตนเองไม่ได้ ว่าทำไมจึงเปลี่ยนรูปแบบ ทำให้ เขียนงานวิจัยไม่ออกมาหลายวัน
วันนี้ผู้เขียนตั้งใจเขียนบล็อก Dhamma for life เหมือนเดิม ด้วยเหตุผลการให้ธรรมมะเป็นทาน การอ่านและการเขียนคือกำไรชีวิตของเรา พบงานน่าสนใจของ งานเขียนของดร.สนอง วรอุไร ในหนังสือทางสายเอก  ในเรื่อง การรู้ใจผู้อื่น แต่พบ Key word ที่เตือนสติผู้เขียนได้ดีคือ "จุดมุ่งหมายของงานวิจัยคือ หาเหตุผลให้เชื่อมโยงกันให้ได้ " มหัศจรรย์ใจ ธรรมะจัดสรรจริงจริง

ขอขอบพระคุณ งานเขียน ดร.สนอง วรอุไร "ทางสายเอก"